หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
เบาหวาน - การควบคุมอาหาร
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 
การควบคุมอาหารอย่างสม่ำเสมอ จำเป็นและสำคัญยิ่ง แม้ในผู้ป่วยเบาหวานที่รักษา ด้วยยากินหรือยาฉีด ผู้ป่วยควรได้รับอาหารครบทุกหมู่ ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม อาหารที่จำเป็นแก่ร่างกายได้แก่ ควร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และวิตามิน และใยอาหาร (Dietary fiber)

ปริมาณอาหาร ที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องการนั้น ขึ้นอยู่กับวัย น้ำหนักตัว และกิจวัตรประจำวันของแต่ละคน เด็ก ผู้ใช้แรงงาน หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร ต้องการอาหารมากขึ้น ผู้สุงอายุต้องการอาหารน้อยลง คนอ้วน ควรได้รับอาหารน้อยลงเพื่อลดน้ำหนัก

อาหารที่ให้พลังงาน คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ ไขมัน 1 กรัมให้พลังงานถึง 9 กิโลแคลอรี่ คนที่กินไขมันมากจึงอ้วนง่าย

ตาราง ปริมาณพลังงานที่ผู้ป่วยเบาหวาน (ผู้ใหญ่) ควรได้รับ

ภาวะโภชนาการ

กิจกรรม

กิโลแคลอรี/ก.ก./วัน

น้อย

ปานกลาง

มาก

อ้วน

20

25

30

ปกติ

30

35

40

ผอม

35

40

45

โดยทั่วไปผู้ป่วยเบาหวาน จะต้องการพลังงานอาหารวันละ 20-45 กิโลแคลอรี ต่อน้ำหนักตัวมาตรฐาน (เป็นกิโลกรัม) พลังงานนี้ควรได้จากคาร์โบไฮเดรต ร้อยละ 50-60 โปรตีนร้อยละ 15-20 และไขมันร้อยละไม่เกิน 30 ของพลังงานทั้งหมด โดยให้มีโคเลสเตอรอลไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม (โคเลสเตอรอลมีมากในไข่แดง เครื่องในสัตว์ ปลาหมึก และหอยนางรม) และมีใยอาหารวันละประมาณ 20-35 กรัม อาหารควรแบ่งให้ 3 มื้อ ในจำนวนใกล้เคียงกัน ผู้ป่วยชนิดพึ่งอินสุลิน ควรมีอาหารว่างมื้อบ่าย และบางคนต้องการมื้อว่างก่อนนอนด้วย

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรงด ได้แก่ อาหารน้ำตาลทุกชนิด เช่น น้ำปลาหวาน ขนมหวานต่างๆ ของหวาน ของเชื่อม น้ำผึ้ง ผลไม้กระป๋อง และครื่องดื่มที่มีรสหวานจากน้ำตาล เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ นมปรุงแต่งรสหวาน อาหารเหล่านี้ ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเร็ว

สำหรับเครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ โอวัลติน ถ้าต้องการรสหวาน อาจใช้น้ำตาลเทียมแทนน้ำตาล ที่ใช้ได้ในเบาหวานนี้มี 2 ชนิด คือพวก Aspartame ที่มีขายชื่อ อีควลและไดเอ็ต อีกชนิดหนึ่งคือขัณฑสกร (Saccharin) น้ำตาลเทียมจะให้รสหวาน โดยให้พลังงานน้อย และไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง แต่ไม่ควรใช้มากเกินไป

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรหลีกเลี่ยง เพราะให้พลังงานสูง (แอลกอฮอล์ 1 กรัมให้พลังงาน 7 กิโลแคลอรี่) บางชนิดมีน้ำตาลสูง เช่น เบียร์ ไวน์ เหล้าหวาน นอกจากนี้ การดื่มแอลกอฮอล์ขณะท้องว่าง อาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำได้ ในผู้ป่วยที่ใช้ยารักษาเบาหวานอยู่

ผลไม้กินได้ในปริมาณจำกัด เนื่องจากมีน้ำตาล หลีกเลี่ยงผลไม้หวานจัด เช่นทุเรียน น้อยหน่า อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรงดผลไม้ เนื่องจากผลไม้มีวิตามิน และใยอาหารสูง

อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานกินได้ไม่จำกัด และควรกินให้มาก คือ ผักใบเขียวทุกชนิด ซึ่งให้พลังงานต่ำ มีใยอาหารสูง แต่มีข้อควรระวังคือ อันตรายจากยาปราบศัตรูพืชที่อาจตกค้างอยู่ ควรล้างให้สะอาดก่อนทุกครั้ง

 

แพทย์หญิงวนิดา พยัคฆพันธ์
แผนกอายุรกรรม

 
       
    แหล่งข้อมูล : วารสารโรงพยาบาลรามคำแหง ฉบับที่ 5 - www.ram-hosp.co.th/books  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เบาหวาน โรคคุ้นหูที่ไม่ธรรมดา
 
สาระความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
 
เบาหวาน ... น่ารู้
 
รู้ทันเบาหวาน
 
โรคเบาหวาน กับ ภาวะไตวาย
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.