หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
เบาหวาน - การใช้ยา
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 
จะใช้ยาต่อเมื่อการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายไม่ได้ผล ยาที่ใช้มีทั้งยาเม็ด และยาฉีด คือ อินซูลิน

ยาเม็ดรับประทาน แบ่งเป็น

  ก. กลุ่ม Sulfonylureas มีหลายชนิดออกฤทธิ์ โดยกระตุ้นอินซูลินจากตับอ่อน และเพิ่มประสิทธิภาพของอินซูลิน
  ข. กลุ่ม Biguanides ที่ใช้ในเมืองไทย คือ Metformin ไม่มีฤทธิ์กระตุ้นอินซูลิน มักใช้ในคนอ้วน และใช้ร่วมกับกลุ่ม Sulfonylureas พบอาการข้างเคียงได้บ่อย เช่นคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ท้องเสีย
  ค. Acarbose เป็นยาที่ช่วยลดการดูดซึมของอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลจากลำไส้ ทำให้ควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น มักใช้ร่วมกับยา ในข้อ ก. พบอาการข้างเคียงบ่อยมากเช่น ท้องอืด มีลมมาก ผายลมบ่อย และท้องเสีย

ยาเม็ดรับประทานทั้งหมดนี้ ห้ามใช้ในผู้ป่วยตั้งครรภ์

อินซูลิน

ต้องใช้ฉีดเท่านั้น เนื่องจากอินซูลินถูกทำลาย โดยน้ำย่อยในกะเพาะอาหาร ได้มีผู้พยายามค้นคว้าหาวิธีการให้อินซูลินด้วย วิธีอื่นเช่น พ่นทางจมูก และกินทางปาก พบว่าให้ผลไม่ดีนัก และยังอยู่ในขั้นทดลองใช้

อินซูลินมีทั้งที่ได้จากสัตว์ คือ หมู และวัว (pork & beef insulin) และอินซูลินที่มีโครงสร้างเหมือนของคน (Human insulin) ปัจจุบันนิยมใช้อินซูลินที่เหมือนของคนมากกว่า อินซูลินยังแบ่งออกเป็นหลายชนิด ตามระยะเวลาที่ออกฤทธิ์คือ

 
1.
ชนิดออกฤทธิ์ระยะสั้น มีฤทธิ์นานประมาณ 5 - 7 ชั่วโมง ลักษณะเป็นน้ำใส ใช้ฉีดเข้าหลอดเลือดและใต้ผิวหนัง เริ่มออกฤทธิ์ 1 ชั่วโมง หลังฉีด
 
2.
ชนิดออกฤทธิ์ระยะปานกลาง อยู่ได้นาน 18 - 24 ชั่วโมง เริ่มออกฤทธิ์ 2 - 4 ชั่วโมงหลังฉีด มีฤทธิ์สูงสุด 6 - 12 ชั่วโมง
 
3.
ชนิดออกฤทธิ์ระยะยาว อยู่ได้นานประมาณ 36 ชั่วโมง
 
4.
ชนิดผสม มีทั้งอินซูลินออกฤทธิ์ระยะปานกลาง และระยะสั้นผสมอยู่ในขวด หรือหลอดเดียวกัน ในอัตราส่วน 90 : 10 , 80 : 20 , 70 : 30 , 60 : 40 , 50 : 50 สะดวกสำหรับผู้ป่วย ที่ต้องใช้ทั้งอินซูลินออกฤทธิ์ปานกลาง และระยะสั้นฉีด ในครั้งเดียวกัน อินซูลินชนิดที่ 2 , 3 และ 4 นี้ จะมีลักษณะขุ่นต้องผสมให้เข้ากันดีก่อนฉีด ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ห้ามฉีดเข้าหลอดเลือด

ความเข้มข้นของอินซูลิน = 100 ยูนิตต่อ 1 มิลลิลิตรบรรจุมาในขวด 10 มิลลิลิตร หรือหลอด 1.5 และ 3 มิลลิลิตร สำหรับใช้ฉีดจากปากกา ควรเก็บอินซูลินไว้ในตู้เย็นนอกช่องแช่แข็ง เนื่องจากอินซูลินมีฤทธิ์อยู่ได้ไม่นาน จึงต้องใช้ฉีดทุกวัน จะฉีดบ้าง หยุดบ้างไม่ได้ ผู้ป่วยบางคนต้องฉีดถึงวันละหลายครั้ง การฉีดอินซูลินอาจใช้กระบอกยาฉีด หรือใช้ฉีดจากปากกา ข้อดีของปากกาคือ ไม่ต้องดูดยาเอง และพกพาได้สะดวก ควรเปลี่ยนที่ฉีดอินซูลินทุกวัน ไม่ควรฉีดซ้ำๆ ที่เดิม จะทำให้การดูดซึมยาไม่ดีเท่าที่ควร และมีปฏิกิริยาที่ผิวหนังได้ หน้าท้อง ต้นแขน หน้าขา และสะโพกเป็นที่สำหรับฉีดอินซูลิน พบว่ายาดูดซึมได้ดีที่สุด ทางหน้าท้อง (และเจ็บน้อยกว่าด้วย)

เนื่องจากเบาหวานเป็นโรค ที่รักษาไม่หายขาด จึงต้องมีการพยายามค้นคว้าวิจัยต่อไป เพื่อหาวิธีการและตัวยาใหม่ๆ ที่ดีกว่า รวมทั้งการทดลองปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งคือตับอ่อน และเซลล์ที่สร้างอินซูลินจากตับอ่อน ในอนาคต เราคงมีวิธีรักษาเบาหวาน ให้ได้ผลดียิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน

 

แพทย์หญิงวนิดา พยัคฆพันธ์
แผนกอายุรกรรม

 
       
    แหล่งข้อมูล : วารสารโรงพยาบาลรามคำแหง ฉบับที่ 5 - www.ram-hosp.co.th/books  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เบาหวาน โรคคุ้นหูที่ไม่ธรรมดา
 
สาระความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
 
เบาหวาน ... น่ารู้
 
รู้ทันเบาหวาน
 
โรคเบาหวาน กับ ภาวะไตวาย
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.