หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
อาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวาน
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ก้าวแรกในการนำไปสู่การกินอย่างมีคุณภาพ

อาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวาน คือ อาหารทั่วไปที่ไม่แตกต่างจากอาหาร ที่ทุกคนในครอบครัวควรรับประทาน แต่เป็นอาหารที่มีความหลากหลาย ที่ร่างกายต้องการครบถ้วนและสมดุล จึงเป็นอาหารที่ทุกคนในครอบครัว สามารถรับประทานร่วมกับผู้ป่วยได้ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึงเสมอ คือ ปริมาณและชนิดของอาหาร ที่ควรรับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณ และชนิดของแป้งและไขมัน เป็นสิ่งสำคัญในการควบคุม ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด รวมถึงการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ สิ่งที่ควรปฎิบัติให้เป็นนิสัย คือ การรับประทานอาหารมื้อหลัก หรืออาหารว่างให้เป็นเวลาทุกวัน และรับประทานในปริมาณ ที่ใกล้เคียงกันในแต่ละวัน ไม่งดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง ผู้ป่วยสามารถที่จะลองอาหารแปลกๆ ใหม่ๆ ได้ เพื่อไม่ให้เกิดความจำเจ ถ้าต้องการลดน้ำหนัก ให้ลดอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน แต่ไม่ควรงดมื้อใดมื้อหนึ่ง เพราะอาจจะทำให้รับประทานเกินอัตรา ในมื้อต่อไป ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือด ขึ้นลงไม่สม่ำเสมอ

ผู้เป็นเบาหวานอาจใช้ปิรามิดแนะแนวอาหาร หรือธงโภชนบัญญัติของไทย เป็นแนวทางเลือกรับประทานอาหาร ได้หลากหลายและสมดุล เนื่องจากไม่มีอาหารชนิดใดชนิดเดียว ที่จะให้สารอาหารครบถ้วน ควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบหมวดหมู่ทุกวัน เพื่อให้ได้พลังงานและคุณค่า ที่พอเหมาะกับร่างกายของแต่ละคน ซึ่งขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ ขนาดรูปร่าง และระดับกิจกรรมการทำงานในแต่ละวัน ปรึกษานักโภชนบำบัดเพื่อรับคำแนะนำ ในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง รวมถึงระดับพลังงานที่เหมาะสม ในการควบคุมเบาหวามอย่างมีคุณภาพ

สิ่งที่ผู้เป็นเบาหวานควรให้ความสนใจกับฉลากโภชนาการ

 
•
ควรเปรียบเทียบปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค กับหมวดอาหารแลกเปลี่ยน ซึ่งโดยปกติจะไม่เท่ากัน
 
•
ปริมาณคาโบร์ไฮเดรตทั้งหมด และปริมาณน้ำตาล จะช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถแลกเปลี่ยนอาหาร ประเภทขนมหวานได้เล็กน้อยในบางโอกาส
 
•
ปริมาณพลังงาน ไขมันรวม ไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอล สำหรับผู้ที่ต้องการนับพลังงานและไขมัน รวมถึงผู้ที่ต้องการควบคุมคอเลสเตอรอล และน้ำหนักตัว
 
•
 ปริมาณโซเดียมเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่มีโรคความดัน และลดความเสี่ยงของโรคไต

แนวทางการบริโภคเพื่อสุขภาพประจำวัน

 
1.
ข้าว/แป้ง/ถั่ว/เมล็ดธัญพืช
   
 
•
ควรเลือกรับประทานข้าวซ้อมมือ หรือขนมปังที่ทำจากแป้งที่ไม่ได้ขัดสี เพื่อให้ร่างกายได้รับเส้นใยอาหารมากขึ้น
 
•
ธัญพืช เช่น ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วแดง เป็นแหล่งของใยอาหาร
 
•
เลือกอาหารว่างที่มีไขมันต่ำ เช่น ข้าวโพด เผือก มัน ฟักทอง ขนมปัง ธัญพืช เป้นต้น
 
2.

ผัก

   
 
•
เลือกรับประทานผักให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารเพียงพอ
 
•
หลีกเลี่ยงการผัดผักด้วยน้ำมันมากๆ หรือการเติมซอสที่เค็มจัด
 
3.

ผลไม้

   
 
•
เลือกผลไม้สดแทนน้ำผลไม้ เพราะจะได้กากใยอาหารมากกว่า
 
•
ถ้าเลือกน้ำผลไม้แทนผลไม้สด ควรเป็นน้ำผลไม้ 100 %
4.

นม และผลิตภัณฑ์นม (พร่อง หรือขาดไขมัน)

   
 
•
เลือกนม และผลิตภัณฑ์นมพร่องมันเนย นอกจากให้โปรตีนสูงแล้ว ยังให้แคลเซี่ยมสูงด้วย
 
•
หลีกเลี่ยงนมปรุงแต่งรสต่างๆ
 
5.

โปรตีน หรือเนื้อสัตว์ (ไขมันต่ำ)

   
 
•
เลือกปลาและเต้าหู้ให้บ่อยขึ้น
 
•
เลือกเนื้อล้วน ไม่ติดหนัง และมัน
 
•
ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ควรจำกัดปริมาณไข่แดง เครื่องในสัตว์ เป็นต้น
 
6.
ไขมัน ของหวาน แอลกอฮอล์ อาหารที่มีเกลือสูง
   
 
•
หลีกเลี่ยงขนมหวาน ที่มีทั้งน้ำตาลและไขมันสูง เช่น คุกกี้ เค้ก ไอศกรีม เป็นต้น
 
•
หากต้องการรสชาติหวาน อาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สารให้ความหวานแทนน้ำตาล
 
•
จำกัดไขมันที่จะใช้ปรุงอาหารแม้จะเป็นน้ำมันพืช
 
•
หลีกเลี่ยงไขมันสัตว์ เช่น น้ำมันหมู หมูสามชั้น และเนยสด
 
•
จำกัดกะทิ
 
•
หลีกเลี่ยงการทอด และผัดที่ใช้น้ำมันมาก
 
•
ปรุงอาหารโดยวิธี ตุ๋น ต้ม นึ่ง ย่าง อบ ยำ
 
•
หลีกเลี่ยงอาหารหมักดองที่มีส่วนผสมของเกลือสูง
 
•
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งให้พลังงานใกล้เคียงกับไขมัน และร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นไขมัน (ไตรกีเซอร์ไรด์) ได้
 
       
    แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลวิภาวดี - www.vibhavadi.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เบาหวาน โรคคุ้นหูที่ไม่ธรรมดา
 
รู้ทันเบาหวาน
 
เบาหวาน VS ดัชนีน้ำตาลในอาหาร
 
เลือกรับประทานอาหารอย่างไรเมื่อเป็นเบาหวาน
 
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.