หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
อาหาร กับ โรคเบาหวาน
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


อาหารเบาหวานกลุ่มที่ห้ามรับประทาน

 
•
น้ำตาลทุกชนิด รวมทั้งน้ำผึ้งด้วย
 
•
ขนมหวาน และขนมเชื่อมต่างๆ เช่น ทองหยิบ ฝอยทอง ขนมชั้น สังขยา ฯลฯ
 
•
ผลไม้กวน เช่น มะม่วงกวน ทุเรียนกวน สับปะรดกวน ฯลฯ
 
•
น้ำหวานต่างๆ นมรสหวาน รวมทั้งน้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ชา กาแฟ รวมทั้งเหล้า เบียร์ด้วย
 
•
ผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน องุ่น ลำใย มะม่วงสุก ขนุน ละมุด น้อยหน่า ลิ้นจี่ อ้อย ผลไม้แช่อิ่ม หรือเชื่อมน้ำตาลทั้งหลาย
 
•
ของขบเคี้ยวทอดกรอบ และอาหารชุบแป้งทอดต่างๆ เช่น ปาท่องโก๋ กล้วยแขกทอด ข้าวเม่าทอด

ประโยชน์ของการควบคุมอาหาร

 
•
ช่วยรักษาระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด ให้ใกล้เคียงระดับปกติ
 
•
ทำให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ควรเป็น
 
•
ช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆ
 
•
ทำให้สุขภาพแข็งแรงและอายุยืน

อาหารเบาหวานกลุ่มที่รับประทานได้ไม่จำกัดปริมาณ

 
•
ผักทุกชนิด (ยกเว้นผักประเภทที่มีแป้งมาก ได้แก่ ฟักทอง ถั่วลันเตา แครอท สะเดา)

อาหารเบาหวานกลุ่มที่รับประทานได้ แต่ต้องจำกัดปริมาณ

 
•
อาหารพวกแป้ง ข้าว เผือก มัน ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน บะหมี่ ขนมปัง มักกะโรนี เป็นต้น
 
•
ลดอาหารไขมัน เช่น ขาหมู ข้าวมันไก่ หมูสามชั้น หรืออาหารทอดน้ำมันมากๆ ตลอดจนไขมันจากพืชบางอย่าง เช่น กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ควรใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันเมล็ดฝ้ายแทน
 
•
อาหารสำเร็จรูป หรืออาหารพิเศษ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เช่น น้ำตาลจากผลไม้
 
•
ผักประเภทหัวที่มีน้ำตาลหรือแป้งมาก เช่น หัวผักกาด ฟักทอง หัวหอม กระเจี๊ยบ ผักตระกูลถั่ว หัวปลี เป็นต้น
 
•
ผลไม้บางอย่าง เช่น ส้ม เงาะ สับปะรด มะละกอ ฝรั่ง กล้วย เป็นต้น

ข้อควรปฏิบัติในการควบคุมอาหาร

 
1.
เลือกรับประทานอาหาร โดยคำนึงถึงพลังงานที่ได้ ตามประเภทของอาหาร คือ 
   
 
•
พลังงานจากคาร์โบไฮเดรท (แป้ง) ประมาณ 55-60% 
 
•
พลังงานจากโปรตีน (เนื้อสัตว์) ประมาณ 15-20% 
 
•
พลังงานจากไขมัน ประมาณ 25%
 
2.
ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ต้องลดปริมาณลง อาจจะเหลือเพียง ครึ่งหนึ่งของที่เคยรับประทาน ห้ามรับประทานน้ำตาล และของหวานทุกชนิด รวมทั้งอาหารมันๆ และของทอดด้วย
 
3.
เลือกรับประทานอาหารที่มีใยมาก เช่น ข้าวซ้อมมือ อาหารประเภทผักต่างๆ หรือเม็ดแมงลัก ซึ่งจะช่วยระบายอ่อนๆ ด้วย
 
4.
อย่ารับประทานจุกจิกและไม่ตรงเวลา ถ้าพลาดมื้ออาหารไป อาจเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปได้
 
5.
รับประทานในปริมาณ ที่สม่ำเสมอและคงที่ ไม่ควรรับประทานมากเกินไป หรือน้อยเกินไปในบางมื้อ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมได้ยาก
 
6.
ผู้ที่เป็นความดันเลือดสูง หรือโรคไตร่วมด้วย ไม่ควรรับประทานรสเค็มจัด ควรจะลดอาหารเค็ม
 
7.
ผู้ป่วยที่ฉีดอินซูลิน ที่ออกฤทธิ์ยาวในตอนเช้า เช่น Protaphane หรือ Monotard ฤทธิ์ยาอยู่ได้นาน 24 ชั่วโมง และออกฤทธิ์สูงสุด ในตอนเย็นหรือกลางคืน อาจต้องจัดแบ่งอาหารออกเป็น 4-6 มื้อ โดยเพิ่มอาหารว่างตอนบ่าย และมื้อกลางคืน ควรจัดแบ่งปริมาณให้เหมาะสม ไม่ให้บางมื้อมากเกินไป
 
8.
ถึงแม้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติดีแล้ว ผู้ป่วยก็ต้องควบคุมอาหารตลอดไป
 
9.
ขอให้ฝึกปฏิบัติจนเป็นนิสัย แล้วท่านจะรู้สึกว่าไม่ใช่เป็นเรื่องยาก ในการควบคุมอาหาร "อาหารเบาหวาน" ไม่ใช่อาหารที่พิเศษพิสดารอะไร ผู้ป่วยเบาหวานก็รับประทานอาหาร เหมือนคนธรรมดาทั่วไป เพียงแต่เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ในชนิดและปริมาณอาหารเท่านั้น
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 33 มีนาคม 2546  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เบาหวาน โรคคุ้นหูที่ไม่ธรรมดา
 
สาระความรู้เรื่องโรคเบาหวาน
 
เบาหวานกับไขมันในเลือด
 
เลือกรับประทานอาหารอย่างไรเมื่อเป็นเบาหวาน
 
อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.