หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


หัวใจเราทำงานบีบตัวได้ เพราะมีกลุ่มเซลล์ที่สร้างกระแสไฟฟ้าเป็นจังหวะ 60 - 100 ครั้งต่อนาที และกระแสไฟฟ้าจะเดินทางไป ตามเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดการบีบตัวเอาเลือดออก ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากเกิดความผิดปกติขึ้น ที่กลุ่มเซลล์เหล่านี้ หรือมีความผิดปกติของการส่งกระแสไฟฟ้า หัวใจของเราก็จะเต้นผิดปกติ คือ อาจจะเร็วขึ้นหรือช้าลงได้ โดยเฉพาะ คนที่อายุมากๆ หากมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า เพียง 30 - 40 ครั้งต่อนาที หรือมีภาวะหัวใจ เต้นๆ หยุดๆ ซึ่งถ้าหยุดนานเกินกว่า 2.5 วินาที จะมีอาการวูบๆ หน้ามืด หรือ หมดสติได้ อาการเหล่านี้ จะตรวจพบได้ จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ จากการบันทึก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง

นับเป็นความก้าวหน้าในวงการแพทย์อย่างยิ่ง ที่ในปัจจุบันนี้ สามารถคิดค้นวิธีการและเครื่องมือ สำหรับการรักษาความผิดปกติ ของหัวใจชนิดต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึง ภาวะหัวใจเต้นช้าอย่างผิดปกติด้วย หากเกิดอาการดังกล่าว แพทย์จะแนะนำให้ ท่านได้รับการใส่ เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร หรือ  "Permanent Cardiac Pacemaker"

เครื่องกระตุ้นหัวใจคืออะไร

เป็นเครื่องมือขนาดเล็กๆ กว้างยาวประมาณ 4 - 5 เซนติเมตร หนาประมาณ 1/2 เซนติเมตร ภายในจะประกอบด้วย

 
1.
ส่วนรับรู้การเต้นของหัวใจ
 
2.
ส่วนส่งพลังงานไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจ เมื่อพบว่าหัวใจเต้นช้ากว่าความต้องการของร่างกาย
 
3.
ส่วนแบตเตอรี่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักให้พลังงานได้ 5 - 10 ปี แล้วแต่ปริมาณการใช้งาน

วิธีการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อาจจะทำได้ทั้งที่ห้องผ่าตัด หรือห้องสวนหัวใจ ที่มีเครื่องเอ็กซเรย์พิเศษ (Fluoroscope) เพราะเป็นการผ่าตัดเล็ก ไม่ต้องดมยาสลบ ใช้เพียงยาชาเฉพาะที่ เท่านั้น มักใส่สายเข้าทางหลอดเลือดดำ บริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า ฝั่งของแขนข้างที่ไม่ถนัด เช่น แขนซ้าย เป็นต้น ส่วนเครื่องก็ฝังไว้ใต้ชั้นไขมันฝั่งเดียวกัน หลังใส่เครื่องเรียบร้อยแล้ว แพทย์จะแนะนำ ไม่ให้ท่านขยับแขนด้านนั้นมาก ไม่ยก สูง ประมาณ 24 ชั่วโมง จากนั้นก็กลับบ้านได้ โดยต้องดูแลแผลให้แห้งดี อย่างน้อย 1 สัปดาห์

วิธีการเตรียมตัวก่อนใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

แพทย์จะแนะนำให้ท่าน งดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนทำ

การปฏิบัติตัวหลังใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

 
1.
ควรมาพบแพทย์เป็นระยะๆ โดยเฉพาะ 3 เดือนแรกหลังใส่เครื่อง เพราะจะได้รับการตรวจเช็คเครื่อง อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ มีการปรับพลังงาน และโปรแกรมของเครื่องให้เหมาะสม เพื่อเป็นการยืดอายุของแบตเตอรี่อีกทางหนึ่งด้วย
 
2.
เมื่อจะเดินทางผ่านเครื่องตรวจจับโลหะในสนามบิน ต้องแสดงบัตรประจำตัวผู้ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ ซึ่งทางบริษัทผู้ผลิตจะออกให้ท่านไว้แล้ว เพื่อจะได้ไม่เป็นการยุ่งยากในการตรวจค้น
 
3.
หากท่านใช้โทรศัพท์มือถือรุ่น Digital ควรถือด้านที่ไม่ได้ใส่เครื่อง หรือถือให้ห่างจากตัวเรื่องประมาณ 6 นิ้ว ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการรบกวนการทำงานของเครื่อง ซึ่งอาจจะเกิดได้บ้าง
 
4.
ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องตรวจสมองแบบ MRI เพราะเครื่องจะถูกแรงแม่เหล็กเหนี่ยวนำ ทำให้เสียหายได้
 
5.
หากจะมีการผ่าตัด ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเสมอ รวมทั้งการฉายแสง รักษามะเร็งด้วย
 
6.
อื่นๆ ตามคำแนะนำของแพทย์

 


นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา
อายุรแพทย์โรคหัวใจ
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.thaiheartweb.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
การตรวจสำหรับโรคหัวใจ
 
อาการโรคหัวใจ
 
ภาวะเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจ
 
กล้ามเนื้อหัวใจตาย
 
โรคหัวใจขาดเลือด
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.