หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
บริโภคอย่างไรจึงจะไม่เป็นโรคหัวใจ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดก็ตามควรลดหรือเลี่ยงอาหาร หวาน มัน และเค็ม

 
•
อาหารหวานและอาหารมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง ทำให้เกิดโรคอ้วน ไขมันสูง และเบาหวาน
 
หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง – ไขมันโคเลสเตอรอลเป็นไขมันที่มาจากสัตว์ ไม่พบในพืชยกเว้นน้ำมันปาล์มบางชนิด น้ำมันมะพร้าว ไขมันชนิดนี้มีอยู่ในเนื้อสัตว์แทบทุกชนิดและที่มีอยู่มาก คือ ขาหมู ข้าวมันไก่ หนังเป็ด หนังไก่ ตับหมู ตับไก่ หมูสามชั้น อาหารบางอย่างที่เราไม่ค่อยรับประทานกันมากนักแต่มีไขมันสูง เช่น สมองสัตว์ ไข่ปลา มันปู เครื่องในสัตว์ เป็นต้น สำหรับไข่ไก่จะมีไขมันโคเลสเตอรอลสูงมากเมื่อเทียบกับน้ำหนักแต่ก็มีเฉพาะไข่แดงเท่านั้น ส่วนไข่ขาวไม่มีไขมัน อาหารทะเลบางชนิด เช่น กุ้ง ปลาหมึก หอยนางรม ก็มีไขมันชนิดนี้สูงเช่นกัน
 
 
 
•
อาหารเค็ม เช่น ปลาเค็ม ไขเค็ม ผักผลไม้ดองเค็มทุกชนิด อาหารที่ให้เกลือมาก เช่น กะปิ เต้าเจี้ยว ไตปลา เต้าหู้ยี้ ผงชูรส เป็นต้น เป็นอาหารที่ทำให้ความดันโลหิตสูง ซึ่งนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและโรคอัมพาต ขณะเดียวกันการลดอาหารเค็มยังช่วยป้องกันโรคมะเร็งด้วย เช่น มะเร็งกระเพาะอาหาร
 
หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม – ต้องยอมรับว่าคนไทยส่วนมากรับประทานอาหารรสจัดมาก โดยเฉพาะรสเค็ม รสเผ็ด อาหารเค็มจะมีเกลือแกง (sodium chloride) มาก ซึ่งเมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้ร่างกายดูดน้ำกลับเข้ากระแสเลือดมากขึ้น ปริมาณเลือดในร่างกายมากขึ้น หัวใจจะทำงานหนักขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งหากหัวใจและไตแข็งแรงดีก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะร่างกายมีขบวนการขับเกลือส่วนเกินออกอยู่แล้ว แต่หากหัวใจไม่ปกติจะทำให้ความดันโลหิตสูงมากขึ้นและควบคุมได้ยากขึ้น ภาวะหัวใจล้มเหลวจะเลวลง มีอาการหอบเหนื่อยหรือบวม ยิ่งถ้ามีไตเสื่อมหรือไตร่วมด้วย (ซึ่งพบบ่อยในผู้ป่วยโรคหัวใจ) ก็จะยิ่งทำให้หัวใจทำงานแย่ลงไปอีก ในต่างประเทศจะแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานเกลือโปแตสเซียม แต่เกลือชนิดนี้ไม่มีจำหน่ายในบ้านเรา
     
 
•
การโภชนาการที่ดี
    กินธัญพืชและแป้งมากๆ – แป้งและธัญพืชเป็นรากฐานสำคัญของอาหารที่ควรได้รับในแต่ละวัน เนื่องจากมีเส้นใยอยู่มาก ป้องกันท้องผูก และลดการดูดซึมของอาหารไขมัน ดังนั้น จึงควรกินแป้งและธัญพืชวันละ 6 -11 ส่วน
    อาหารจำพวกข้าวที่มีกากและเส้นใยมากได้แก่ ซีเรียล ข้าวโพด ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวแดง ขนมปังโฮลวีท จมูกข้าว หัวบุก เป็นต้น
    กินผักและผลไม้สดให้มาก – ผักและผลไม้เป็นแหล่งของเส้นใยเช่นเดียวกับแป้งและธัญพืช ที่ช่วยย่อยอาหาร อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุ
    ผลไม้ที่มีกากมากได้แก่ ฝรั่ง ส้ม สับปะรด มะละกอ ละมุด
    กินเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมพอสมควร – อาหารกลุ่มนี้เป็นแหล่งแคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามินบี ซึ่งช่วยเสริมกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยซ่อมแซมเซลล์ในร่างกาย เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมมีข้อดีมากมายแต่มันมีไขมันในปริมาณที่สูง ดังนั้น จึงควรลดปริมาณไขมันโดยการเลือกดื่มนมพร่องมันเนย รับประทานเนยแข็ง และนมเปรี้ยวที่ทำจากนมไขมันต่ำ เลือกซื้อปลา เนื้อไก่ และเนื้อไม่ติดมัน เป็นต้น
    กินอาหารไขมันและน้ำตาลแต่น้อย – แม้ว่าอาหารอุดมด้วยไขมันและน้ำตาลจะมีรสชาติถูกปาก แต่ในระยะยาวแล้วจะมีผลเสียต่อร่างกาย ไขมันทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งบางชนิด อาหารรสหวานอาจจะอร่อยแต่หลังจากกินไปแล้วจะทำให้รู้สึกหงุดหงิดอารมณ์ไม่ดีได้ บางครั้งน้ำตาลยังทำให้ควบคุมน้ำหนักตัวได้ยากอีกด้วย ที่สำคัญคือ อาหารไขมันจะเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดและเกิดการสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดหลอดเลือดตีบ น้ำตาลจะทำให้ฟันผุ เกิดโรคอ้วน และนำไปสู่โรคหัวใจรวมทั้งโรคเบาหวานและมะเร็งบางชนิด
 
       
    แหล่งข้อมูล : หนังสือ - เป็นโรคหัวใจทำอย่างไรดี  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
ขจัดสี่วายร้ายให้ไกลตัว
 
รับประทานอย่างไร ปลอดภัยจากโรค
 
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ
 
รอบรู้เรื่องอาหาร ลดปัญหาโคเลสเตอรอล
 
แนวทางการบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.