หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
บริหารหัวใจ สลาย ไขมันในหลอดเลือด - ใครบ้างควรออกกำลังกาย
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ใครบ้างควรออกกำลังกาย

ทุกเพศ และทุกวัย ควรที่จะออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ไม่มีคำว่าสายเกินไป สำหรับการออกกำลังกาย ไม่ว่าจะมีอายุเท่าใด แต่ถ้ายิ่งเริ่มต้นเร็วจะยิ่งดี ถ้าเป็นผู้สูงอายุควรใช้การเดิน ว่ายน้ำ ถีบจักรยานอยู่กับที่เป็นหลัก ผู้ที่อ้วนอาจใช้การว่ายน้ำเป็นหลัก (ร่วมกับการคุมอาหาร) เดิน หรือถีบจักรยาน ผู้ที่เข่าเจ็บ อาจใช้การว่ายน้ำ หรือถีบจักรยาน เป็นการออกกำลังกาย ฯลฯ

วิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องมี 5 ขั้นตอน

 
1.
ควรจะมีการยืดเส้นสายก่อน
 
2.
ควรจะมีการอุ่นเครื่อง ประมาณ 5 นาที
 
3.
ออกกำลังกายให้ชีพจรเข้าเป้า ประมาณ 20 นาที
 
4.
ควรมีการคลายความร้อน ประมาณ 5 นาที
 
5.
ควรมีการยืดเส้นอีกครั้งก่อนหยุด

ควรออกกำลังกายนานแค่ไหน

ปกติแล้ว ควรออกกำลังกายต่อเนื่อง ประมาณ 20 นาทีเป็นอย่างน้อย (แต่ถ้าเดินต้องเดินเร็วๆ 40 นาที) การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ไม่จำเป็นต้องทำมากกว่านี้

ควรออกกำลังกายบ่อยแค่ไหน

ควรออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง แต่ไม่ควรออก มากกว่า 6 ครั้ง เพื่อให้ 1 วันเป็นวันพัก

ควรออกกำลังกายหนักแค่ไหน

ในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง ถ้าจะให้ได้ประโยชน์ต่อหัวใจและปอด จะต้องออกกำลังกายให้หัวใจ (หรือชีพจร) เต้นระหว่าง 60-80% ของความสามารถสูงสุด ที่หัวใจของคนๆ นั้น จะเต้นได้ สูตรในการคำนวณ ความสามารถสูงสุด ที่หัวใจจะเต้นได้ คือ 220 ลบอายุเป็นปี กล่าวคือคนที่มีอายุ 50 ปี มีความสามารถสูงสุด ที่หัวใจจะเต้นได้ คือ 220 ลบ 50 หรือเท่ากับ 170 ครั้งต่อนาที แต่ในการออกกำลังกาย ที่เป็นประโยชน์ต่อหัวใจและปอด ไม่จำเป็น และไม่ควรเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องออกกำลังกายให้ชีพจรเต้นถึง 170 ครั้ง แต่ควรออกกำลัง เพื่อให้ชีพจรเต้นเพียงระหว่าง 60-80% ของ 170 ครั้งต่อนาที กล่าวคือระหว่าง 102-136 ครั้งต่อนาที สำหรับคนที่มีอายุ 50 ปี แต่ถ้าไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ต้องค่อยๆ ทำ อาจใช้เวลา 2-3 เดือนก่อน ที่จะออกกำลังกายให้ชีพจร เต้นได้ถึง 60% ของความสามารถสูงสุด ที่หัวใจจะเต้นได้

แต่ในทางปฏิบัติ การวัดชีพจรในขณะที่ออกกำลังกาย ถ้าไม่มีเครื่องมือช่วยวัด จะทำได้โดยยากสำหรับประชาชนทั่วไป ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องวัดชีพจร แต่ออกกำลังกาย ให้รู้สึกว่าเหนื่อยนิดหน่อย พอมีเหงื่อออก หรือยังสามารถพูดคุย ระหว่างการออกกำลังกายได้ ถ้าอยากวัดจริงๆ อาจใช้วิธีถีบจักรยานอยู่กับที่ เพราะจักรยานส่วนใหญ่จะมีที่วัดชีพจร

ขณะนี้เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์แล้วว่า การออกกำลังกายสามารถสะสมได้ เช่น ถ้าออกครั้งละ 10 นาที อย่างต่อเนื่อง วันละ 3 ครั้ง ก็จะได้ประโยชน์เช่นกัน แต่อาจไม่เหมาะสม เกี่ยวกับการต้องอาบน้ำบ่อยๆ

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.heartandcholesterol.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
ขจัดสี่วายร้ายให้ไกลตัว
 
โรคหลอดเลือดหัวใจ
 
โคเลสเตอรอล
 
รักหัวใจ ใส่ใจโคเลสเตอรอล
 
เมื่อหัวใจต้องไปเีกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.