หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลี้ยง
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ปัญหาโรคหัวใจของคนไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มที่น่าเป็นห่วง คือ มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นทุก ๆ ปี ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โรคหัวใจชนิดหนึ่งที่คนไทยเป็นกันมาก คือ โรคหลอดเลือดโคโรนารี่ตีบตัน หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลี้ยง

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลี้ยง

ผู้มีอาการเจ็บหน้าอก ใจเต้นสั่น เหนื่อยง่ายเมื่อออกกำลังกาย บางครั้งเป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นผู้ที่มีอาการน่าสงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ การจะทราบว่าเป็นจริงหรือไม่จะต้องมาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือเกี่ยวกับโรคหัวใจโดยเฉพาะ เช่น เครื่องทดสอบสมรรถภาพหัวใจ ด้วยการออกกำลังกาย การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงชนิดสี เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่พกติดตัวได้ การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ

สาเหตุ และอาการ

เกิดขึ้นเนื่องจากมีการอุดกั้น หรืออุตันในหลอดเลือดโคโรนารี่ที่นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจทำให้หัวใจขาดเลือด จึงเกิดอาการต่าง ๆ เช่น จุกแน่น เสียดแสบบริเวณทรวงอก อาจแผ่กระจายไปที่แขน ลำคอ ขากรรไกร กราม ถ้าเป็นมากจะเพลียมาก เหงื่อออก เป็นลม ใจสั่น จนถึงเสียชีวิตแบบกระทันหันได้ เพราะคราบไขมันมาเกาะทำให้ผนังภายในหลอดเลือดพอกหนาขึ้นทิ้งไว้นาน ๆ จะอุดตันเข้ามาภายในหลอดเลือด ถ้าท่านเจ็บหน้าอก และมีอาการมาก เจ็บนานเกิน 15-20 นาที ควรรีบไปโรงพยาบาล เพราะแพทย์จะได้ช่วยชีวิตไว้ได้ทันท่วงที

ปัจจัยเสี่ยง

ตัวเร่งการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเลี้ยง เกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการ เช่น

 
1.
โรคความดันโลหิตสูง
 
2.
ีไขมันในเลือดสูง
 
3.
การสูบบุหรี่
 
4.
โรคเบาหวาน
 
5.
โรคอ้วน
 
6.
ความเครียด
  7. การไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
 
8.
ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
 
9.
ผู้มีบรรพบุรุษเป็นโรคนี้มีโอกาสมากกว่า

การรักษา

หลังจากที่ได้ตรวจวินิจฉัยแล้วว่าเป็นโรคหัวใจ การรักษาก็ไม่จำเป็นต้องให้ยาเสมอไป แต่แพทย์อาจจะแนะนำวิธีปฏิบัติตัว และนัดให้มาตรวจเพิ่มเติมอีกในระยะเวลาที่เหมาะสมท่านที่เป็นโรคหัวใจจะต้องปฏิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ เช่น

 
1.
งดสูบบุหรี่
 
2.
งดรับประทานอาหารเค็ม
 
3.
ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
 
4.
ลดความเครียด
 
5.
พักผ่อน และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
 
6.
รับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำอย่างต่อเนื่องตลอดไป

เมื่อเริ่มรักษาด้วยยา ท่านควรมาตรวจตามที่นัดอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาจต้องเพิ่ม หรือลดขนาดยาตามความจำเป็น ถ้าใช้การรักษาทางยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรืออาการของโรคทรุดลง ก็จะปรึกษาศัลยแพทย์โรคหัวใจเพื่อรักษาด้วยการผ่าตัดต่อไป

ในกรณีที่รักษาทุกวิธีแล้วยังไม่หายขาด หรือไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา เช่น ในกรณีที่มีการอุดตันของหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ก็จะต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งในปัจจุบันการผ่าตัดโรคหัวใจในประเทศไทย มีความปลอดภัย และได้ผลดีทัดเทียมกับต่างประเทศ

การผ่าตัดหัวใจทำได้ 2 วิธี คือ ผ่าตัดภายนอกหัวใจวิธีนี้ไม่ต้องให้หัวใจหยุดทำงาน อีกวิธีหนึ่งคือ การผ่าตัดเปิดหัวใจ เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เย็บปิดรูภายในหัวใจ ต่อหลอดเลือดเข้าหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งต้องอาศัยเครื่องหัวใจ และปอดเทียม ทำหน้าที่แทนหัวใจ และปอดของผู้ป่วย ขณะแพทย์เปิดหัวใจทำการผ่าตัด แพทย์ และพยาบาลต้องได้รับการฝึกอบรมมาโดยเฉพาะ ให้ทำงานร่วมกันเป็นทีมเป็นระยะเวลานาน ทำให้ไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด ผู้ป่วยจึงจะปลอดภัยในการผ่าตัด

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.Bangkokhealth.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคหลอดเลือดหัวใจ
 
รักหัวใจ ใส่ใจโคเลสเตอรอล
 
คอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ
 
เมื่อหัวใจต้องไปเกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง
 
โรคเบาหวานส่งผลต่อหลอดเลือดหัวใจ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.