หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคเก๊าท์ - สาเหตุของโรค
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 
 
1.
ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า โรคเก๊าท์เกิดจากการที่ระดับของกรดยูริกสูงในเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากการสะสมกรดยูริคในร่างกายจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วกรดยูริคจะตกผลึกเมื่อระดับของกรดยูริคในเลือดมากเกิน 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร การที่ร่างกายมีกรดยูริคสะสมมากกว่าปกติ เป็นระยะเวลานาน ก็จะไปตกตะกอนอยู่บริเวณรอบๆ ข้อ หรือภายในข้อ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น
 
2.
กรดยูริคเกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีน ซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ ข้าวสาลี เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ, เซี่ยงจี้ เป็นต้น ร่างกายจะย่อยพิวรีนจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี ในคนที่เป็นโรคเก๊าท์ พบว่าเกิดความผิดปกติของกระบวนการใช้และขับถ่ายสารพิวรีน
 
3.
ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ทั้งหมด เกิดจากการที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้าหรือน้อย จนทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย และเกิดเป็นโรคเก๊าท์ขึ้น คนที่เป็นโรคนี้มักจะมีระดับกรดยูริกในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่เสมอไปทุกคน และหลายคนที่มีระดับกรดยูริกสูงในกระแสเลือดกลับไม่มีอาการข้ออักเสบจากโรคเกาต์
 
4.
ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 เกิดจากการที่ร่างกายสร้างกรดยูริคมากเกินไป พบว่ายูริคในเลือดที่สูงนั้น กว่าร้อยละ 90 เกิดจากการสร้างขึ้นในร่างกายเอง อาหารเป็นแหล่งกำเนิดของยูริคในเลือดน้อยกว่าร้อยละ 10
 
5.
พบว่าร้อยละ 18 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเก๊าท์เช่นกัน และโรคพันธุกรรมที่พบน้อยบางชนิด ทำให้ร่างกายสร้างกรดยูริคออกมาในปริมาณที่มากเกิน ได้แก่ hypoxanthine-guanine phosphoribosyl transferase deficiency (Lesch-Nyhan syndrome),glucose-6-phosphatase deficiency (von Gierke disease), fructose1-phosphate aldolase deficiency, และ PP-ribose-P synthetase variants
 
6.
โรคเก๊าท์มักเป็นกับผู้ชายวัยสูงอายุ เนื่องจากภาวะกรดยูริคในเลือดที่สูงนั้น จะยังไม่เกิดการตกตะกอนและเกิดข้ออักเสบทันที แต่ต้องใช้ระยะเวลาที่กรดยูริคในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายสิบปี พบว่าในผู้ชายที่มีกรดยูริคสูงนั้น ระดับของยูริคในเลือดจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น และสูงไปนานจนกว่าจะเริ่มมีอาการคืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงระดับยูริคจะเริ่มสูงขึ้นหลังจากวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงโดยเฉพาะเอสโตรเจนจะมีผลทำให้กรดยูริคในเลือดไม่สูง
 
7.
ผู้ป่วยโรคต่อไปนี้ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์มากขึ้น ได้แก่ โรคอ้วน, โรคเบาหวาน, ไขมันในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดแข็งผิดปกติ,ผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารตะกั่ว, โรคไตวายเรื้อรัง และโรคเลือดชนิด sickle cell anemia, myeloproliferative disease
 
8.
การดื่มเหล้า หรือเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์ เนื่องจากไปขัดขวางกระบวนการขับกรดยูริกออกจากร่างกาย อีกทั้งแอลกอฮอล์ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสร้างกรดยูริก โดยการเร่งกระบวนการการสลายตัวของสารอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตในเซลล์ การดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะการดื่มเบียร์ซึ่งจะทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ทันที เพราะเบียร์มีสารกวาโนซีนซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นกรดยูริกในร่างกายได้มาก
 
9.
ยาบางชนิดเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเก๊าท์ ได้แก่ แอสไพริน aspirin, ยาขับปัสสาวะกลุ่ม thiazide, ยารักษาโรคพาร์กินสัน levodopa, ยากดภูมิคุ้มกัน cyclosporine

 

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.bangkokhealth.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เก๊าท์
 
อาหารกับโรคเก๊าต์
 
เป็นข้อต่ออักเสบ ควรออกกำลังกายอย่างไร
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.