หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคเก๊าท์ - แนวทางในการรักษาโรค
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


แนวทางในการรักษาโรค การรักษาโรคเก๊าท์ในปัจจุบัน อาศัยหลักสำคัญ 3 ประการ

 
1.
รักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันให้หายเร็วที่สุด โดยเน้นที่เริ่มให้ยาทันที เลือกใช้ยาลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม และระมัดระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้นพึงระลึกไว้เสมอว่าการรักษาอาการข้ออักเสบจนหาย ไม่ได้หมายความว่ารักษาโรคเก๊าท์หายแล้ว ผลึกของกรดยูริคยังคงอยู่ภายในข้อ และอาจก่อให้เกิดการอักเสบขึ้นอีกเมื่อใดก็ได้
 
2.
ป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบของข้อจากผลึกของกรดยูริค โดยการใช้ยาลดการอักเสบขนาดต่ำต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
 
3.
รักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด และป้องกันไม่ให้โรครุนแรงมากขึ้น โดยแก้ไขปัญหาทางเมตาบอลิกไปพร้อมๆ กัน

การรักษาในระยะเฉียบพลัน

 
1.
จุดประสงค์เพื่อรักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันให้หายเร็วที่สุด โดยเน้นที่เริ่มให้ยาทันที เลือกใช้ยาลดการอักเสบที่มีประสิทธิภาพ ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม และระมัดระวังผลข้างเคียงของยาที่อาจจะเกิดขึ้น
 
2.
ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น อินโดเมธาซิน (indomethacin) อินโดเมธาซิน (indomethacin) รับประทานในขนาด 50 มิลลิกรัม วันละ 3 เวลา เป็นเวลา 2-3 วัน จากนั้นลดขนาดลงเป็น 25 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4-10 วัน
 
3.
ยาโคลชิซิน (colchicine) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเก๊าท์มาเป็นเวลานาน ได้ผลดีเมื่อให้ยาตั้งแต่ระยะแรก ๆ ของอาการ โดยใช้ยาในขนาด รับประทานวันละไม่เกิน 3 เม็ด เช่น 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ จะทำให้ผู้ป่วยหายจากข้ออักเสบในเวลา 1-2 วัน ที่สำคัญคือ ต้องระวังผลข้างเคียงเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย บางครั้งอาจมีผู้แนะนำให้กินยาโคลชิซิน 1 เม็ด ทุกชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด หรือจนกว่าจะท้องเสีย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่กินยาด้วยวิธีนี้ มักจะท้องเสียก่อนหายปวดเสมอ
 
4.
การใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ (corticosteroids) พบว่ามีประสิทธิภาพดี ทั้งรูปยารับประทาน ยาฉีดเข้าเส้นเลือด ยาฉีดเข้ากล้าม และยาฉีดเข้าข้อ เพรดนิโซโลน (prednisolone) รับประทานในขนาด 30 มิลลิกรัม ทุกวัน ค่อยๆลดขนาดลงจนสามารถหยุดยาได้ภายในหนึ่งสัปดาห์ เมธิลเพรดนิโซโลน (methylprednisolone) ขนาด 40 มิลลิกรัม ใช้ฉีดเข้าเส้นเลือด ไทรแอมซิโนโลน (triamcinolone) ขนาด 40 มิลลิกรัม ใช้ฉีดเข้ากล้าม
 
5.
การพักผ่อนให้เต็มที่ ดื่มน้ำมากๆ พักการใช้ข้อ ยกส่วนที่ปวดบวมให้สูง และประคบด้วยความเย็น พบว่าช่วยให้อาการอักเสบหายเร็วขึ้นกว่าการใช้ยาเพียงอย่างเดียว
 
6.
หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน ยาขับปัสสาวะ อาหารที่มีพิวรีนสูง แอลกอฮอล์ และไม่ให้ยาลดกรดยูริคขณะที่มีอาการข้ออักเสบ

การรักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด

 
1.
การรักษาระยะยาว โดยใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด โดยถือหลักการว่า ถ้าเราลดระดับยูริคในเลือดได้ ต่ำกว่า 7 มก./ดล. จะทำให้ยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกมา และขับถ่ายออกจนหมดได้ ข้อบ่งชี้ในการใช้ยาลดกรดยูริคในเลือด ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีอาการ >3 ครั้งต่อปี, ผู้ที่มีก้อนโทฟัส และผู้ที่มีนิ่วกรดยูริค
 
2.
ยาที่นิยมใช้ได้แก่ ยาอัลโลพูรินอล (allopurinol) ขนาด 100-300 มก. กินวันละครั้ง ยานี้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง กินยาสม่ำเสมอ และกินไปนานอย่างน้อย 3-5 ปี เพื่อกำจัดกรดยูริคให้หมดไปจากร่างกาย การกิน ๆ หยุด ๆ จะทำให้แพ้ยาได้ง่าย ซึ่งเป็นผื่นผิวหนังชนิดรุนแรง
 
3.
ยาอีกกลุ่มหนึ่งที่นิยมใช้เช่นกัน คือ โปรเบเนซิด probenecid ขนาด 250 มิลลิกรัม รับประทานวันละ 2 ครั้ง เพิ่มขนาดยาสูงสุดได้ถึง 1500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
 
4.
ร้อยละ 75 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ พบว่าการขับกรดยูริคออกทางไตลดน้อยลง ยาที่เพิ่มการขับกรดยูริค เช่น โปรเบเนซิด (probenecid) และ ซัลฟินพัยราโซน (sulfinpyrazone) จึงได้รับความนิยมที่จะใช้เป็นยาตัวแรกมากกว่า ในกรณีที่การทำหน้าที่ของไตเริ่มบกพร่อง การใช้ยาเบนซโบรมาโรน (benzbromarone) จะได้ผลดีกว่า
 
5.
ในปี 2005 ได้มีรายงานผลการรักษาด้วยยาลดกรดยูริคในเลือดชนิดใหม่ 2 ชนิด คือ uricase และ febuxostat พบว่าได้ผลดีมาก ผลข้างเคียงน้อยกว่ายาชนิดเก่าที่เคยใช้กันมา

นอกจากการใช้ยาลดระดับกรดยูริกในเลือดแล้ว ยังควรปฎิบัติตัวตามนี้

 
1.
หลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดกรดยูริกสูงในกระแสเลือด เช่น ภาวะอ้วน มีไขมันสูงในกระแสเลือด โดยเฉพาะพวกไทรกลีเซอรัยต์ การรับประทานอาหารพวกเครื่องในสัตว์
 
2.
พยายามปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ และทานยาตามที่แพทย์สั่ง ข้อสำคัญควรไปหาแพทย์เพื่อรับตรวจรักษาอยู่สม่ำเสมอ
 
3.
ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตบางประการ โดยเริ่มแรกต้องลดน้ำหนัก ลดระดับไขมันในเลือด งดอาหารพวกเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะ เครื่องใน เช่นตับ งดอาหารทะเล ถั่วชนิดต่างๆ รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเพิ่มปริมาณการสร้างกรดยูริกและลดการขับถ่าย กรดยูริกออกจากร่างกาย
 
4.
ควรดื่มน้ำมากๆ เพราะภาวะร่างกายขาดน้ำย่อมทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ พยายามหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน ที่เป็นอันตรายต่อข้อโดยเฉพาะเรื่องการใส่รองเท้าคับเกินไป
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.bangkokhealth.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
เก๊าท์
 
อาหารกับโรคเก๊าต์
 
เป็นข้อต่ออักเสบ ควรออกกำลังกายอย่างไร
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.