หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
บอกลาข้อเสื่อมด้วยอาหาร
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


สาเหตุของโรค ขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่จะพบว่ามีการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ (กระดูกอ่อน เป็นกระดูกบริเวณส่วนปลายของกระดูกสองท่อน มาเชื่อมต่อกันเป็นข้อ กระดูกอ่อนปกติจะเรียบ มีความยืดหยุ่น ทำหน้าที่ลดแรงที่กระทำต่อข้อ และทำให้ข้อเคลื่อนไหวด้วยความราบรื่น) เมื่อกระดูกอ่อนสึกมาก เวลาข้อมีการเคลื่อนไหว กระดูกแท้จะเสียดสีกัน ทำให้เกิดความเจ็บปวด และเกิดเสียงดัง (ข้อลั่น) เมื่อเป็นนาน ๆ ร่างกายจะพยายามสร้างกระดูกใหม่ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของข้อ เกิดเป็นกระดูกงอก

ปัจจัยเสี่ยงของโรค

โรคนี้มักจะพบในผู้หญิง มากกว่าผู้ชาย ปัจจัยเสี่ยงที่คาดว่าจะทำให้เกิดข้อเสื่อมได้มากกว่าคนทั่วไป เช่น น้ำหนักตัวมาก เป็นผลให้ข้อต่อที่รับน้ำหนักบริเวณข้อเข่า สะโพก ข้อเท้าเสื่อมเร็วกว่าปกติ รวมถึงการได้รับอุบัติเหตุมาก่อน การใช้ยาหรือสารเคมีบางตัว การใช้ยาลูกกลอนที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ก็มีส่วนทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน และนำไปสู่การเป็นโรคข้อเสื่อม รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เครื่องดื่มที่มีกรดคาร์บอนิกอย่างน้ำอัดลมต่างๆ และการสูบบุหรี่

ความรุนแรงของอาการ

โรคข้อเสื่อมมีหลายระดับ ในช่วงเริ่มแรกอาการยังไม่รุนแรง จึงแค่รู้สึกปวดเมื่อยเวลาใช้ข้อ บางครั้งอาจจะมีเสียงดังกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว ต่อมาจะมีอาการข้อตึงและติดขัด เมื่อเป็นมากขึ้น กระดูกผิวข้อจะสึกหรอ ทำให้รู้สึกปวดมากเวลาเคลื่อนไหว นอกจากนั้นอาจพบว่ามีการผิดรูปของข้อ เกิดข้อบวม แดง ร้อน เมื่อเวลาผ่านไปจะมีกระดูกงอกเข้าไปในข้อ พร้อมทั้งมีน้ำไขข้อมากขึ้น และมีเศษกระดูกลอยอยู่ในข้อ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดข้อมา กและเคลื่อนไหวลำบาก หากเป็นมากจะไม่สามารถใช้งานข้อนั้นๆ ได้

แล้วทำอย่างไรถึงจะหาย

โรคข้อเสื่อมไม่อาจรักษาให้หายได้ มีเพียงวิธีป้องกันก่อนจะเกิดโรค และการบรรเทาอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้น

 
1.
การป้องกัน ทำได้โดยหลีกเลี่ยงท่าทางที่ใช้ข้อมาก เช่น การนั่งพับเพียบ การวิ่งที่มีการกระแทกส้นเท้าลงอย่างรุนแรง รวมไปถึงการลดน้ำหนักตัว ไม่ให้เกินมาตรฐาน เพื่อไม่ให้ข้อรับภาระหนักในระยะยาว
 
2.
การบรรเทาความเจ็บปวด เมื่อเป็นข้อเสื่อมแล้ว การใช้ยารักษาตามอาการ เป็นวิธีที่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราสามารถลดปริมาณยาที่ใช้ได้ หากมีการออกกำลังกาย เพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่พยุงข้อนั้นอยู่ และบริหารให้ข้อมีการเคลื่อนไหวอย่างสม่ำเสมอ เช่น การยืน มือเกาะกับเก้าอี้ ย่อตัวให้เข่างอเล็กน้อย นับ 3-6 แล้วยืนตรง ทำซ้ำ 3-6 ครั้ง หรืออาจจะรำกระบองท่าแถมก็สามารถช่วยได้

นอกจากนั้น การเดินเร็วหรือการว่ายน้ำ ก็จะช่วยกระตุ้นให้กระดูกแข็งแรงขึ้นได้ แต่ผู้ป่วยต้องปรึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำ และการดูแลของนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อ

เคล็ดลับอาหารกับอาการข้อเสื่อม

อาหารที่ทำให้เกิด ภาวะเป็นกรดในร่างกายสูง เป็นปัจจัยเสริมให้เกิดเโรคข้อเสื่อมได้มาก เช่น น้ำมันที่ได้จากอาหารทอด ไขมันจากสัตว์ แป้งขัดขาว น้ำตาล เนื้อสัตว์ที่มีสีแดง ผลิตภัณฑ์จากน้ำนม ยีสต์ (จากขนมอบและเบียร์) รวมไปถึงแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม กาเฟอีน บุหรี่ ซึ่งเมื่อสารเหล่านี้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะทำให้เกิดอาการปวดบวมตามข้อรุนแรงมากขึ้น

สำหรับอาหารที่แนะนำเพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรค ได้แก่ อาหารที่มีไขมันที่ดีต่อร่างกายทั้งหลาย เช่น ไขมันจากพืชและปลาทะเลน้ำลึก ไขมันดีจะช่วยลดไขมันที่เป็นโทษ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดบวม

นอกจากนี้ การรับประทานอีกส่วนที่สามารถรับประทานวิตามินซี เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยซ่อมและสร้างเสริมเนื้อเยื่อบริเวณข้อต่อ ให้แข็งแรงขึ้น

 


นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 148

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.cheewajit.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคข้ออักเสบ
 
โรคข้อเสื่อม
 
อาการของผู้ที่เป็น ข้อเข่าเสื่อม
 
การรักษา ข้อเข่าเสื่อม
 
อาหารช่วยแก้ข้ออักเสบ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.