หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคไตจากเบาหวาน
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ผู้ที่เป็นเบาหวานมานานหลายปี จะเกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะหลอดเลือดทั่วร่างกายจะแข็งและหนา ทำให้เลือดไป เลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง ถ้าควบคุมเบาหวานไม่ดี ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จะเกิดเร็วกว่าปกติ โดยเฉลี่ยโรคไตมักจะเกิดตามหลังโรคเบาหวานมากกว่า 10 ปี  ขึ้นไป ถ้าเริ่มมีอาการบวมตามแขน ขา ใบหน้า  และลำตัว เป็นการบ่งชี้ว่าเริ่มมีความผิดปกติทางไต การตรวจพบโรคไตระยะเริ่มแรกในผู้ป่วยเบาหวาน คือความดันโลหิตสูง ไข่ขาวหรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ เมื่อไตเริ่มเสื่อมลง จะต้องเจาะเลือดเพื่อตรวจหน้าที่ไต โดยค่ายูเรียไนโตรเจน (BUN) และคริเอตินิน (Creatinine) จะสูงกว่าคนปกติ

ภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวาน

 
1.
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
 
2.
อาการบวม
 
3.
ไตอักเสบจากการติดเชื้อ
 
4.
ไตวายฉับพลัน
 
5.
ไตวายเรื้อรัง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไตในผู้ป่วยเบาหวาน 

โรคไตพบประมาณ 30 – 35 % ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไต ได้แก่

 
•
เพศชาย
 
•
พันธุกรรม
 
•
ระดับน้ำตาลสูง
 
•
ความดันโลหิตสูง
 
•
โปรตีนรั่วในปัสสาวะ
 
•
การสูบบุหรี่

ทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคไตจากเบาหวาน

 
•
มีอาการซีด
 
•
บวม
 
•
ความดันโลหิตสูง
 
•
อาการคันตามตัว
 
•
เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
 
•
ระยะสุดท้ายจะอ่อนเพลีย คลื่นใส้ อาเจียน

อย่างไรก็ดี  การเกิดโรคไตจากเบาหวาน มักมีสิ่งตรวจพบเพิ่มเติม จากผู้ป่วยไตวายเรื้อรังจากสาเหตุอื่น ซึ่งก็คือ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวาน ได้แก่

 
•
อาการชาตามปลายมือ – เท้า
 
•
เจ็บหน้าอก
 
•
ตามัว
 
•
แขนขาอ่อนแรง
 
•
แผลเรื้อรังตามผิวหนังและปลายเท้า

การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อป้องกันโรคไต

 
1.
ตรวจปัสสาวะ เพื่อหาโปรตีนทุกปี
 
2.
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เท่ากับ หรือใกล้เคียงปกติเท่าที่สามารถทำได้
 
3.
รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในเกณท์ปกติ
 
4.
หลีกเลี่ยงการใช้ยา หรือสารที่เป็นอันตรายต่อไต เช่น ยาต้านการอักเสบระงับปวด สารทึบรังสี
 
5.
สำรวจ และให้การรักษาโรค หรือภาวะอื่นที่ทำให้ไตเสื่อมสมรรถภาพ เช่น การติดเชื้อทางปัสสาวะ

การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และเป็นโรคไต

 
1.
  ตรวจปัสสาวะและเลือด เพื่อดูหน้าที่ไตเป็นระยะๆ
 
2.
  กินยาตามแพทย์สั่งติดต่อกัน และพบแพทย์ตามนัด
 
3.
  งดบุหรี่ และแอลกอฮอล์ ซึ่งมีผลต่อหลอดเลือด
 
4.
  ถ้าต้องรับประทานยาแก้ปวด หรือยาอื่นๆ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และเภสัชกร
 
5.
  เมื่อมีอาการบวม ควรงดอาหารเค็ม รสจัด หมักดอง และอาหารกระป๋อง
 
6.
  ควบคุมความดันโลหิตให้ปกติ หรือใกล้เคียงมากที่สุด กินยาสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเองเพราะคิดว่าสบายดีแล้ว
 
7.
  ระวังอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง
 
8.
  รับประทานผักและปลามากขึ้น
 
9.
  ควรตรวจอวัยวะอื่นๆ ด้วย เช่น ตา หัวใจ ปอด
 
10.
  สำรวจผิวหนัง และเท้าให้สะอาด ไม่มีแผลเรื้อรัง
 
11.
  ระหว่างการรักษาด้วยเครื่องไตเทียม ควรรับประทานเนื้อสัตว์ และอาหารเค็มให้น้อยที่สุด
 
12.
  ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเคร่งครัด

ตัวอย่างอาหารไขมันสูงที่ควรระวัง

 
1.
อาหารโคเลสเตอรอลสูง
   
 
•
อาหารทะเล
 
•
เนื้อ – หมู ติดมัน
 
•
กุ้ง
 
•
หอย
 
•
ทุเรียน
 
•
เนย
 
2.
อาหารไตรกลีเซอร์ไรด์สูง   
   
 
•
อาหารจำพวกแป้ง
 
•
ของหวาน
 
•
ผลไม้รสหวาน
 
•
เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์

 


ศจ.พญ.ลีนา องอาจยุทธ    
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
นายกสมาคมโรคไต แห่งประเทศไทย

 
       
    แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลวิภาวดี - www.vibhavadi.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคไต : อาการ สาเหตุ และข้อแนะนำ
 
ความผิดปกติของไตในผู้ป่วยเบาหวาน
 
เบาหวาน ทำให้ไตวาย
 
ไตวาย ไม่ตายไว - สาเหตุ และการรักษา
 
โรคไต กินไม่เลือก ตายสถานเดียว
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.