หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
จะรักษาโรคไตอย่างไร
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


วิธีรักษาโรคไต อาจแบ่งได้เป็น 4 วิธีหลักๆ ด้วยกัน คือ

 
1.
การตรวจค้นหา และการวินิจฉัย โรคไตที่เหมาะสม : ผู้ป่วยซึ่งได้รับการตรวจค้นหา หรือวินิจฉัยโรค ที่ถูกต้องตั้งแต่ในระยะแรกๆ ของโรค ย่อมมีโอกาสได้รับผลการรักษา ที่ดีกว่าผู้ป่วย ซึ่งได้รับการวินิจฉัยล่าช้า  ดังนั้น การตรวจค้นหาและวินิจฉัยโรค จึงนับเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่ง ของกระบวนการรักษา
   
 
2.
การรักษาที่สาเหตุของโรคไต : เช่นการรักษานิ่วไต การหยุดยาซึ่งเป็นพิษต่อไต การควบคุมโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ให้ดีอย่างสม่ำเสมอ การใช้ยาที่เหมาะสม กับโรคเนื้อไตอักเสบแต่ละชนิด เป็นต้น
   
 
3.
การรักษาเพื่อชะลอ ความเสื่อมของไต : แม้แพทย์จะรักษาสาเหตุของโรคไตแล้ว  แต่ผู้ป่วยจำนวนมาก อาจมีการทำงานของไต ที่เสื่อมลงกว่าปกติ ทั้งนี้ เรื่องจากเนื้อไตบางส่วนถูกทำลายไป ไตส่วนที่ดีซึ่งเหลืออยู่ อาจจะต้องทำงานหนักขึ้น ทำให้ไตเสื่อมการทำงานมากขึ้น ตามระยะเวลา และมักเกิดไตวายในที่สุด การรักษาที่สำคัญในระยะนี้ คือ การรักษา เพื่อมุ่งชะลอการเสื่อมของไต อันได้แก่ การควบคุมอาหารให้เหมาะ กับการทำงานของไตที่เหลืออยู่  การใช้ยาเพื่อช่วยปรับสารต่างๆ ที่เป็นพิษต่อไต การควบคุมความดันโลหิตให้ดี เป็นต้น
   
 
4.
การรักษาทดแทน การทำงานของไต (การล้างไต และการผ่าตัดปลูกถ่ายไต) : เมื่อไตวายมากขึ้น จนเข้าระยะสุดท้าย  ผู้ป่วยที่เหมาะสมกลุ่มหนึ่ง จะได้รับการรักษาด้วยการล้างไต หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต
   
 

การล้างไต (Dialysis) มี 2 วิธี คือ การฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) และการล้างไตทางช่องท้อง (Peritonel Dialysis:CAPD) ในปัจจุบัน พบว่า ผลการรักษาทั้ง 2 วิธีได้ผลใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม กับสภาพของผู้ป่วย และครอบครัว-ผู้ดูแลผู้ป่วย ตลอดจนที่อยู่อาศัย และความชำนาญของ ทีมผู้ดูแลรักษาผู้ป่วย

ผู้ป่วยที่เริ่มรักษาโดยการล้างไตแล้ว จะสามารถหยุดการล้างไตได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับชนิดของโรคไตวายที่ผู้ป่วยเป็น กล่าวคือ หากเป็นไตวายชนิดเฉียบพลัน (เช่นผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรง หรือเกิดโรคเนื้อไตอักเสบรุนแรง แล้วทำให้ไตวายเฉียบพลัน) เมื่อแพทย์รักษาโรค ที่เป็นสาเหตุของไตวายให้ดีขึ้นแล้ว การทำงานของไต มักกลับฟื้นขึ้นมาได้เป็นส่วนมาก และผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะสามารถหยุดการล้างไตได้  แต่ในกรณีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย  ซึ่งการทำงานของไตผู้ป่วยกลุ่มนี้ เหลือน้อยมาก และไม่อาจฟื้นกลับมาทำงานได้อีก ดังนั้น การล้างไตในผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะต้องทำไปตลอดชีวิตของผู้ป่วย หรือจนกว่าผู้ป่วย จะได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต 

ทั้งนี้ เพราะการล้างไต เป็นเพียงวิธีการลดของเสีย ในร่างกายผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้น  แต่ไม่ใช่วิธีที่จะทำให้ การทำงานของไตผู้ป่วยกลับฟื้นขึ้นมา  การล้างไต ในกรณีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายนี้ จึงเป็นเพียงการช่วยต่อชีวิตของผู้ป่วยออกไป แต่ด้วยเทคโนโลยี และยาในปัจจุบัน  หากทำการล้างไต อย่างถูกต้องและเพียงพอ  ร่วมกับการคัดเลือกผู้ป่วยที่เหมาะสมแล้ว ผู้ป่วยมักมีคุณภาพชีวิตที่ดีพอควร ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จะต้องไปรับการฟอก อย่างสม่ำเสมอตามการนัดหมาย  ซึ่งผู้ป่วยโดยทั่วไป มักได้รับการฟอกฯ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 4-5 ชั่วโมง การพัฒนาระบบการฟอกฯ ในโลกปัจจุบัน มีความนิยมที่จะใช้ระบบการฟอก ที่มีประสิทธิภาพสูง (High Flux Hemodialysis) มากขึ้น  เพราะสามารถฟอกของเสีย ออกจากร่างกายผู้ป่วย ได้ดีกว่าการฟอกแบบธรรมดา

 

 นพ. เชวง ลิขสิทธิ์

 
       
    แหล่งข้อมูล : โรงเรียนนครพิงค์อภิบาลกิจ - www.popcare.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคไต : อาการ สาเหตุ และข้อแนะนำ
 
ไตวายเรื้อรัง
 
เบาหวาน ทำให้ไตวาย
 
โรคไต กินไม่เลือก ตายสถานเดียว
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.