หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคจิตเภท - การรักษาโรคจิตเภททำกันอย่างไร
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


การรักษาโรคจิตเภททำกันอย่างไร

1. การดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้าน

การรักษาด้วยยา ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดอัตราการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยได้ โดยจิตแพทย์สั่งยาให้ไปกินที่บ้าน ภายใต้การดูแลของญาติ บางครั้งอาจฉีดยาให้ด้วย บางรายอาจเกิดผลข้างเคียงจากยานั้น ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยทุกราย และไม่มีอันตรายรุนแรง อาการที่เกิดจากผลข้างเคียง เหล่านี้สามารถที่จะรักษาได้ โดยการเปลี่ยนยารักษาโรคจิต จากชนิดหนึ่งไปเป็นอีกชนิดหนึ่ง หรือการให้ยาลดผลข้างเคียงร่วมไปด้วย ตัวอย่างของผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย ง่วงซึม ตัวแข็ง คอแข็ง มือสั่น หิวบ่อย ท้องผูก ผู้ป่วยชายบางรายมีความต้องการทางเพศลดลง

เมื่อญาติทราบถึงผลข้างเคียงของยาดังกล่าวจะทำให้ญาติเข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น และหาทางช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เพราะอาการเหล่านี้ อาจเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยไม่ร่วมมือในการกินยาอย่างต่อเนื่อง

ถ้ายาใกล้หมด หรือถ้าถึงกำหนดนัด ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ในบางราย อาจมีการตรวจเลือด เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด

ผู้ป่วยและญาติเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการรักษา ผู้ป่วยควรกินยาอย่างสม่ำเสมอ ตามแพทย์สั่ง ไม่ควรลดหรือหยุดยาเอง อาจต้องใช้เวลาหลายปีแต่ยาจะควบคุมอาการ และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เข้าสู่สังคมได้ ผู้ป่วยบางรายสามารถกลับไปทำงานได้ หรือสามารถช่วยเหลือตนเองได้

2. การดูแลรักษาในโรงพยาบาล (กรณีที่ป่วยมากมีอาการรุนแรง)

รักษาโดยการกินยา ฉีดยา ตามที่จิตแพทย์สั่ง

บางรายอาจทำการรักษาด้วยไฟฟ้า ซึ่งเดิมเรียกว่าช๊อคไฟฟ้า (ECT) ถ้าการรักษาอื่นๆไม่เป็นผลการรักษาแบบนี้ปลอดภัยมาก และไม่ทรมานผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะรู้สึกดีภายหลังการรักษา

มีกิจกรรมรักษาอื่นๆ เสริม เช่น การทำกลุ่มจิตบำบัดต่างๆ เช่น การฝีมือ ดนตรีบำบัด การฝึกอาชีพ และการทำจิตบำบัด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวได้อย่างเหมาะสม

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ พร้อมจะกลับบ้านได้หลังรับการรักษาภายใน 2-4 สัปดาห์

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.ramaclinic.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
บันได 5 ขั้น สู่ชีวิตใหม่ ที่มีค่าและเป็นสุข
 
อารมย์ขันบำบัด
 
กำลังใจ เอาชนะความเศร้า
 
วิธีขับไล่ความโกรธเกรี้ยว
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.