หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ดับร้อน ผ่อนกระหาย ทั้งร้อนไนและร้อนกาย
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


สภาพอากาศที่ร้อนจัด แดดแรง อาจทำให้หลายคนมีอาการ กระหายน้ำ คอแห้ง ลมหายใจร้อนผ่าว ร้อนใน บางทีในช่วงที่ร้อนๆ นี้ ถ้ารับประทานอาหารมันๆ ทอดๆ ก็อาจจะมีอาการเป็นแผลในปาก หรือที่เรียกกันว่า แผลร้อนใน ซึ่งเป็นกันมากในช่วงหน้าร้อน

ในฤดูร้อน เป็นช่วงที่ความร้อนในธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น เมื่อความร้อนจากภายนอกกระทบร่างกาย จึงเป็นเหตุให้ธาตุไฟ ในร่างกายกำเริบ ส่งผลให้มีอาการตัวร้อน ปวดหัว วิงเวียน อ่อนเพลีย คอแห้ง กระหายน้ำ ร้อนใน ท้องผูก วิธีป้องกัน อาการเหล่านี้ คือ ไม่ควรกินอาหารรสเผ็ดจัด และมันเลี่ยน เพราะยิ่งเสริมธาตุไฟ ควรกินอาหารที่มีรสขม รสเย็น รสเปรี้ยว และรสจัด สำหรับเครื่องดื่ม ควรดื่มน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว จะช่วยคลาย ความร้อนลง เช่น น้ำมะนาว น้ำส้ม น้ำสับปะรด น้ำกระเจี๊ยบ น้ำระกำ น้ำมะยม นอกจากนี้ น้ำผักและน้ำผลไม้บางชนิด ก็มีสรรพคุณ แก้ร้อนในแก้ไอ แก้เจ็บคอ ขับเสมหะ เช่นน้ำแตงกวา น้ำรากบัว น้ำบัวหลวง น้ำมะพร้าว น้ำตาลสด น้ำเก๊กฮวย น้ำแตงโม น้ำแตงไทย น้ำใบบัวบก น้ำมันแกว น้ำองุ่น น้ำแห้ว น้ำมะตูม น้ำทับทิม น้ำมะขาม น้ำมะเฟือง น้ำอ้อย ซึ่งน้ำผักและน้ำผลไม้เหล่านี้ นอกจากจะช่วยแก้ร้อน ในแล้วยังช่วยให้รู้สึกสดชื่น และแก้กระหายน้ำได้อย่างดี

สำหรับชาวจีน และชาวอินเดีย นิยมใช้รากบัว เป็นยาแก้ร้อนใน เพราะดื่มได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รสชาติอร่อย มีสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ขับเสมหะ แก้ไอ ชูกำลัง โดยวิธีปรุง แก้ร้อนใน ที่นิยมมากที่สุด คือ นำรากบัวมาฝานเป็นแว่นใส่น้ำ พอท่วม ต้มนาน 10-15 นาที รินดื่มน้ำวันละ 3-4 ครั้งๆละ 1 แก้วหากชอบรสหวาน สามารถเติมน้ำตาลลงไปได้ แต่ไม่ควรเติมให้หวานมาก เพราะน้ำตาลไม่ถูกกับร้อนใน หากไม่มีเวลาต้ม ให้นำรากบัวสด มาตำให้ละเอียดคั้น เอาแต่น้ำดื่มครั้งละ 3-4 ช้อนแกง วันละ 3-4 ครั้ง มีฤทธิ์แรงกว่าต้มรากบัว หรือไม่ก็เคี้ยวรากบัวอ่อนๆกินสดๆ แต่ไม่ควรกินมากเกินไป เพราะอาจเกิดอาการแน่นหน้าอกได้

นอกจากน้ำรากบัวแล้ว น้ำสมุนไพรจีน อย่างน้ำจับเลี้ยง ก็ดื่มแก้อาการร้อนในได้ดีไม่แพ้กัน ในส่วนผสมก็จะประกอบด้วย ดอกงิ้ว ใบบัว รากหญ้า ใบเพกา เก๊กฮวย รากบัว โหล่งกิง เทียงฮวยฮ่ง แซ่ตี่ แห่โกงเช่ง หล่อฮั่งก้วย นำมาต้มรวมกัน สำหรับดื่มแก้ร้อนใน แผลในปาก เจ็บคอ ขมคอ คอแห้ง ไอ เสียงแหบ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ

สำหรับคนไทย เมื่อมีอาการร้อนใน มักจะดื่มยาขมและยาเขียว ซึ่งเป็นยาสมุนไพร ที่บำบัดอาหารร้อนในได้เป็นอย่างดี ยิ่งในยุคนี้ สมุนไพรได้ถูกแปรรูป ใช้กินง่ายขึ้น จึงมีชาสมุนไพรดื่มแก้ร้อนใน หลายอย่าง รวมทั้งแก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้เจ็บคอ เช่น ชาฟ้าทะลายโจร ชาชะเอม ชารางจืด ชาลูกใต้ใบ ชามะตูม

น้ำดื่มแบบไทยๆ อีกอย่าง ที่ใช้ผสมน้ำดื่มเพียงนิดหน่วยก็ชื่นใจนั้น ก็คือ ยาอุทัย ที่มีส่วนผสมของฝาง ซึ่งแก้กระหายน้ำ แก้ท้องร่วง บำรุงโลหิตสตรี ชะเอมเทศ และอบเชยเทศ แก้อาการคันระคายคอ บำรุงหัวใจขับเสมหะ และเกสรทั้งห้า (ดอกมะลิ ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี  เกสรบัวหลวง) แก้ร้อนในกระหายน้ำ บำรุงหัวใจแก้ลมวิงเวียน ถ้าจะให้หอมชื่นใจยิ่งขึ้น ให้ลอยดอกมะลิสัก 6-7 ดอก กลิ่นหอมของดอกมะลิ ช่วยให้เย็นไวยิ่งขึ้น (ระวังเรื่องยาฆ่าแมลงด้วยนะคะ)

นอกจากจะเลือกดื่มน้ำผัก น้ำผลไม้ และน้ำสมุนไพรข้างต้น เพื่อคลายอาการร้อนในแล้ว ควรดื่มน้ำบริสุทธิ์มากๆ กินผักและผลไม้มากๆ เพื่อไม่ให้ท้องผูก ที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกิน อีกอย่างหนึ่งในหน้าร้อน คือ งดกินอาหารประเภททอดๆ มันๆ อาหารรสจัดและผลไม้บางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทุเรียนไม่ควรกินมากเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้อาการร้อนในถามหาเร็วขึ้น

คุณประโยชน์ของผัก ผลไม้ และสมุนไพรบางอย่าง



ทองหยอด

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.yingthai-mag.com - ฉบับที่ 683 เดือนมีนาคม - เมษายน พ.ศ. 2547  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
ผัก รักษาโรค
 
ข้าวกล้อง วิตามิน...เพียบ
 
สุดยอดอาหารถั่วเหลือง
 
6 สหาย สุขภาพ
 
คะน้า ผักธรรมดาที่ไม่ธรรมดา
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.