หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคหลอดเลือดสมอง
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่มักเรียกกันทั่วไปว่า โรคอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้

 
•
โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน
 
•
โรคหลอดเลือดสมองแตก

ทั้ง 2 ชนิด จะทำให้สมองส่วนที่เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ หรือมีก้อนเลือดออก สูญเสียการทำงานในการควบคุม การทำงานของร่างกายอย่างทันทีทันใด ทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

 
•
อาการอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก
 
•
ตามองไม่เห็นภาพซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้งหมด
 
•
มองเห็นภาพซ้อน
 
•
มีความผิดปกติของการใช้ภาษา เช่น พูดไม่คล่อง ใช้ภาษาผิดหรือไม่เข้าใจภาษา
 
•
เวียนศีรษะ บ้านหมุน
 
•
ปวดศีรษะรุนแรง อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
 
•
พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว กลืนลำบาก
 
•
ความจำเสื่อม หรือหลงลืมอย่างทันทีทันใด
 
•
ซึม หมดสติ

หลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมองแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงได้หลายลักษณะ คือ บางคนจะดีขึ้นเองภายใน 24 ชั่วโมง บางคนอาการแย่ลงภายใน 1-3 วันแรกจากหลอดเลือดสมองมีการอุดตันมากขึ้น บางคนอาการมากที่สุด ในตอนแรกเกิดอาการและคงที่ และบางคนเกิดปัญหาสมองบวมตามมา ซึ่งอาจทำให้อาการทรุดหนักซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดภายใน 3-4 วันแรก หลังจากพ้นระยะนี้ไปจะเป็นช่วงการฟื้นตัว ซึ่งแต่ละคนจะมีการฟื้นตัวได้ไม่เท่ากัน บางรายสามารถฟื้นได้เป็นปกติ บางรายอาจยังมีความพิการหลงเหลืออยู่

การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง โดยบางอย่างสามารถแก้ไขได้ ซึ่งนับเป็นการป้องกันโรคที่ได้ผลดี อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงบางอย่าง เช่น อายุมาก มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้

สำหรับปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ที่สามารถแก้ไขได้ และเป็นการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่

 
•
โรคความดันโลหิตสูง
 
•
โรคเบาหวาน
 
•
โรคไขมันในเลือดสูง
 
•
โรคหัวใจโดยเฉพาะลิ้นหัวใจผิดปกติ และหัวใจเต้นผิดจังหวะ
 
•
การสูบบุหรี่
 
•
ปัจจัยเสี่ยงเสริมอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ และควรแก้ไข ได้แก่ อ้วน ขาดการออกกำลังกาย ภาวะเครียด ดื่มสุรา รับประทานยาคุมกำเนิด เป็นต้น

ดังนั้น การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสามารถทำได้โดย

 
•
ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี วัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด เป็นระยะตามที่แพทย์แนะนำ ตรวจร่างกายว่ามีความผิดปกติของหัวใจหรือไม่ ถ้าผิดปกติต้องควบคุม และติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
 
•
เลิกสูบบุหรี่ พบว่าการเลิกสูบบุหรี่ สามารถลดโอกาสเสี่ยงการเกิด โรคหลอดเลือดสมองได้ครึ่งหนึ่ง
 
•
ลดน้ำหนักถ้ามีน้ำหนักเกิน
 
•
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
 
•
ผ่อนคลายความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ
 
•
ในรายที่มีความเสี่ยง อาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบได้ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยา กันเลือดแข็งตัว เพื่อป้องกันอัมพาต ควรปฏิบัติตัว และติดตามการรักษาตามคำแนะนำอย่างใกล้ชิด
 
•
ในรายที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ต้องรับประทานยาป้องกันการเกิดซ้ำ ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่งดยาเอง
 
•
ถ้ามีอาการที่สงสัยว่า อาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองดังกล่าวข้างต้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที


นพ. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.si.mahidol.ac.th - คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคที่พบในผู้สูงอายุ
 
ภาวะสมองเสื่อม
 
โรคซึมเศร้า
 
อัมพาตในผู้สูงอายุ
 
โรคต้อกระจก
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.