หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
อหิวาตกโรค...โรคหน้าร้อน
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


อหิวาตกโรค เป็นโรคท้องร่วงอย่างแรง ในอดีตพบว่าการระบาดแต่ละครั้ง ทำให้มีคนตายเป็นร้อยเป็นพัน จึงมีชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันมาแต่โบราณว่า "โรคห่า" สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย โดยพบการติดเชื้อเฉียบพลันในลำไส้ เริ่มด้วยอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ และบางครั้งมีอาเจียนร่วมกับภาวะขาดน้ำ ซึ่งพบว่ามีอาการรุนแรงในเด็กทารก

สำหรับอาการ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีไข้ เบื่ออาหาร และท้องเดิน ซึ่งมักจะคงอยู่หลายวัน โดยกลไกการติดเชื้อจะเริ่มจากการอักเสบของลำไส้เฉียบพลัน และตามมาด้วยโลหิตเป็นพิษ หรือการติดเชื้อเฉพาะที่ทำให้เกิดฝี ข้ออักเสบ ท่อน้ำดีอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดบวม ไตและกรวยไตอักเสบ เป็นต้น โดยปกติมักไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต ยกเว้นในรายที่เป็นเด็กหรือผู้สูงอายุที่สุขภาพอ่อนแอ

โรคนี้ยังก่อให้เกิดการระบาดย่อยๆ ในชุมชน ส่วนการระบาดใหญ่มักพบในโรงพยาบาล ภัตตาคาร สถานเลี้ยงเด็ก และสถานสงเคราะห์คนชรา ซึ่งโดยทั่วไปมักเกิดจากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อจากแหล่งผลิต หรือบางครั้งพบว่ามาจากมือของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะซึ่งสัมผัสอาหาร ส่วนการแพร่โดยตรงจากคนถึงคนก็อาจเกิดขึ้นได้

เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร

เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการกินอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ที่มีเชื้อ หรือปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของผู้ป่วยหรือสัตว์ที่เป็นโรค โดยที่อาหารนั้นไม่มีการปรุงให้สุก เช่น ไข่ นมดิบ เนื้อสัตว์ รวมทั้งเป็ดไก่ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ดังกล่าว

คนอาจได้รับเชื้อจากการสัมผัสสัตว์เลี้ยง เช่น เต่า ลูกไก่ หรือผลิตภัณฑ์ยาที่ผลิตจากสัตว์ ซึ่งไม่ผ่านการสเตอริไรซ์ การติดเชื้อในสัตว์อาจเกิดจากอาหารสัตว์หรือปุ๋ย ซึ่งผลิตจากเนื้อสัตว์ กระดูกสัตว์

โดยสรุปแล้ว การติดต่อที่สำคัญ คือ การติดต่อโดยผ่านทางการกิน และการขับถ่ายจากคนไปสู่คน โดยเฉพาะเมื่อมีอาการอุจจาระร่วง จำนวนของเชื้อที่สามารถก่อให้เกิดโรคโดยปกติต้องมากกว่า 100-1,000 ตัว โดยทั่วไปแล้ว เชื้อสามารถจะเจริญเพิ่มจำนวนในอาหาร โดยเฉพาะนมได้อย่างรวด เร็ว การระบาดของโรคที่พบในโรงพยาบาล มักเริ่มต้นด้วยการปนเปื้อนเชื้อในอาหาร และตามด้วยการแพร่กระจายเชื้อจากคนไปสู่คน โดยผ่านทางมือหรือภาชนะที่มีเชื้อปนเปื้อน โดยเฉพาะในแผนกเด็กอ่อนและแม่หลัง คลอด

นอกจากนี้ การปนเปื้อนของอุจจาระในระบบการจัดจ่ายน้ำ โดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้การระบาดของโรคกระจายอย่างรวดเร็ว

วิธีการป้องกัน

 
•
เน้นการรับประทานอาหารที่สุก โดยเฉพาะเป็ด ไก่ หมู ไข่ เนื้อ และนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์
 
•
หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของเชื้อภายหลังการปรุงอาหารสุกแล้ว และควรเก็บถนอมอาหารในตู้เย็น และตรวจสอบว่าอุณหภูมิเย็นเพียงพอ
 
•
ให้สุขศึกษาแก่ผู้ประกอบอาหาร พนักงานเสิร์ฟ โดยเน้นการล้างมือก่อน ระหว่างและหลังการเตรียมอาหาร การรักษาสุขวิทยาส่วนบุคคล การเก็บอาหารในตู้เย็น การดูแลความสะอาดของห้องครัว และการป้องกันอาหารจากแมลงและหนู
 
•
ผู้ที่มีอาการอุจจาระร่วง ควรให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ปรุงอาหาร หรือดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาล เด็ก หรือคนสูงอายุ
 
•
ให้ความรู้แก่ผู้ที่เป็นพาหะ โดยเน้นการล้างมือหลังการขับถ่าย และก่อนการรับประทานอาหาร และหลีกเลี่ยงการปรุงหรือเสิร์ฟอาหาร จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อ
 
•
สำรวจ ป้องกัน และควบคุมการปนเปื้อนเชื้ออหิวาตกโรคในฟาร์มและในสัตว์เลี้ยง ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็กเล็ก
 
•
ตรวจ แนะนำ และดูแลสุขาภิบาลในโรงฆ่าสัตว์ โรงงานผลิตอาหาร ร้านขายเนื้อ และโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ฯลฯ
 
•
ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ ควรได้รับการปรุงให้สุกเพื่อฆ่าเชื้อด้วยความร้อนหรือด้วยรังสี และต้องมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อในภายหลังด้วย

 

 

นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 156

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.cheewajit.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
อาหารเพื่อสุขภาพกระเพาะอาหาร
 
สูตรธรรมชาติเยียวยากระเพาะอาหารอักเสบ
 
ปรับนิสัย ช่วยแก้ไขโรคกรดไหลย้อน
 
สูตรธรรมชาติซ่อมท้องเสีย
 
ท้องผูกต้องแก้ให้ถูกวิธี
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.