หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ปวดเบาแต่หนักเกินทน!
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


National Kidney and Urologic Diseases Information Clearinghouse (NKUDIC) รายงานว่าในปี 2000 ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป เข้ารับการตรวจและวินิจฉัย เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบจำนวนกว่า 8.27 ล้านคน! และพบว่าผู้หญิงอายุ 20-74 ปี คิดเป็น 53.5 % ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ทาง Kidney and Urology Foundation of America ยังสรุปว่าประมาณ 1 ใน 5 ของผู้หญิงอเมริกัน เคยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ...สรุปแล้ว ในชีวิตลูกผู้หญิง จำนวนกว่าครึ่งเคยทรมานกับโรคนี้มาก่อน!

ร่างกายผู้หญิงช่างซับซ้อน

อันที่จริงโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สามารถเกิดได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่ผู้หญิงมักเป็นได้ง่ายและบ่อยกว่า อันเนื่องมาจากสรีระร่างกาย ที่กำหนดให้ผู้หญิงมีท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย ดังนั้น เมื่อเชื้อโรคจากช่องคลอดและทวารหนัก เกิดรุกล้ำเข้าไปในท่อปัสสาวะ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อ

ปวดเบา ...แต่หนัก

อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ก็คือ

 
•
ถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งได้น้อย แต่ปวดบ่อย
 
•
แสบหรือขัดท่อปัสสาวะขณะถ่ายปัสสาวะ หรือปวดท้องน้อยและหลังส่วนล่าง
 
•
ปัสสาวะมีสีขุ่น อาจมีเลือดปนและมีกลิ่นเหม็น
 
•
ถ้าปล่อยไว้นาน อาจเกิดการอักเสบลุกลามไปกรวยไต ทำให้มีไข้สูง รวมถึงคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย และปวดหลังบริเวณใต้ชายโครง

ปวดแบบนี้...เดี๋ยวค่อยไปก็ได้

การกลั้นปัสสาวะเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้ผู้หญิงทรมาน กับโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในเวลาต่อมา เพราะใจจดจ่อกับธุระเบื้องหน้าอยากทำต่อเนื่อง หรือกังวลเกี่ยวกับสุขอนามัยของห้องน้ำสาธารณะ ถึงขนาดยอมกลั้นจนกว่าจะถึงบ้าน และนอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจาก

 
•
การทำความสะอาด หลังถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งควรทำความสะอาด จากด้านหน้าไปด้านหลัง มิฉะนั้นเชื้อโรคบริเวณทวารหนัก และช่องคลอดจะเข้าสู่ท่อปัสสาวะได้
 
•
ใส่กางเกงคับเกินไป ทำให้ไม่ระบายอากาศจนเกิดความอับชื้น รวมถึงการไม่เปลี่ยนผ้าอนามัย หรือใส่ผ้าอนามัยชนิดสอดด้วยมือที่ไม่สะอาด
 
•
การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ถูกอนามัย อวัยวะเพศหญิงสัมผัสกับมือ หรืออวัยวะเพศชายที่ไม่สะอาด รวมถึงการเสียดสีกับช่องคลอดส่วน ที่ติดกับกระเพาะปัสสาวะแรงๆ ทำให้เกิดโอกาสถลอก เป็นแผลอักเสบและติดเชื้อได้
 
•
การสอดท่อสวนปัสสาวะ หรือเครื่องมือแพทย์ เข้าไปในท่อปัสสาวะที่ไม่สะอาด หรือ สอดไว้นานเกินไป กรณีนี้มักเกิดช่วงผ่าตัด คลอดบุตรหรือผู้สูงอายุ ที่ต้องเปลี่ยนถ่ายท่อสวนปัสสาวะบ่อยๆ
 
•
กังวลช่วงตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จะปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เพราะการขยายตัวของมดลูก และกระดูกเชิงกราน และน้ำหนักของเด็กเบียดพื้นที่กระเพาะปัสสาวะ นอกจากนั้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือความเครียดเข้ามาส่งผลอีกด้วย
 
•
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เมื่ออายุมากขึ้น การควบคุมหรือกลั้นปัสสาวะ ก็ลดประสิทธิภาพลง ซึ่งการปัสสาวะเล็ดแบบนี้ เพิ่มโอกาสให้เชื้อแบคทีเรีย เข้าสู่ท่อปัสสาวะได้ง่าย และเมื่อถึงวัยทอง การผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ทำให้เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด เจริญได้ง่าย เสี่ยงต่อการติดเชื้อท่อในปัสสาวะได้เช่นกัน

วิธีการรักษาและป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำๆ

เมื่อสังเกตหรือสงสัยว่า ตนเองเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะ ขอแนะนำให้ไปพบแพทย์ทันที ก่อนที่จะเกิดอักเสบและติดเชื้อมากกว่านี้ โดยแพทย์จะซักถามถึงความบ่อยในการขับปัสสาวะ การดื่มน้ำ และการตรวจกดบริเวณท้องน้อยหรือหลัง หรืออาจนำตัวอย่างปัสสาวะ ไปวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ เพื่อประเมินว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ จากนั้นแพทย์ก็จะจ่ายยารับประทานยาฆ่าเชื้อ หรือฉีดยาตามความเหมาะสม อาจให้ดื่มน้ำผสมโซเดียมคาร์บอเนตครั้งละ 1 ช้อนชา เพื่อลดความเป็นกรด และระคายเคืองของกระเพาะปัสสาวะ รวมถึงให้รับประทานยาแก้ปวดร่วมด้วย ซึ่งต้องรับประทานยาจนครบ ตามคำแนะนำของแพทย์ แต่หลังจากอาการดีขึ้นก็ต้องระวังเรื่อง

 
•
การไม่กลั้นปัสสาวะ เพราะปัสสาวะที่ค้างในกระเพาะปัสสาวะเป็นเวลานาน เป็นแหล่งเพาะเชื้ออย่างดี
 
•
ดื่มน้ำให้เพียงพอ ประมาณ 8-10 แก้วต่อวัน สามารถดื่มน้ำเปล่า น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ผสม
 
•
หมั่นรักษาความสะอาด และสุขอนามัยของอวัยวะเพศ โดยการเปลี่ยนผ้าอนามัย หรือแผ่นอนามัยบ่อยๆ ทุก 3-4 ชั่วโมง การไม่ใส่กางเกงหรือชุดชั้นในที่รัดหรืออับชื้น เลี่ยงการใส่กางเกงหรือกระโปรงซ้ำๆ โดยไม่ซัก
 
•
สำหรับคนที่เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อยๆ อาจขอยารับประทานจากคุณหมอติดไว้ที่บ้าน ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ถึงปริมาณยา และวิธีรับประทานอย่างละเอียด

รู้แบบนี้แล้ว เสียเวลาไปเข้าห้องน้ำและใส่ใจความสะอาดสักนิด รับรองว่าปวดเบาจะไม่เป็นปัญหาหนักๆ สำหรับคุณ

วิธีการรักษาอาการเบื้องต้นที่บ้าน

ถ้าคุณรู้ว่าตนเองเริ่มมีอาการโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ภายใน 24 ชั่วโมงให้รีบ

 
•
ดื่มน้ำมากๆ เพื่อลดความเข้มข้นของปัสสาวะ และขับเชื้อโรคออกมาให้มากที่สุด
 
•
พยายามปัสสาวะให้สุดในแต่ละครั้ง
 
•
ถ้ารู้สึกปวดท้องน้อย นำกระเป๋าน้ำร้อนมาวางประคบไว้ เพื่อลดอาการปวดได้ แต่ไม่ควรนอนหลับและประคบทิ้งไว้ตลอดคืน

 

 
       
    แหล่งข้อมูล : นิตยสาร - HealthToday  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
ปวดท้องน้อยในสตรี อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม
 
เรื่องน่าอาย ที่ผู้หญิงไม่อยากบอก
 
กระเพาะปัสสาวะ บีบตัวไวเกินปกติ (Overactive Bladder)
 
โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
 
เคล็ดลับ 10 ประการ เพื่อผมสวย
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.