หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคกระดูกพรุน
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


กระดูกของมนุษย์
จะเริ่มเสื่อมและบางลง เมื่อมนุษย์มีอายุสูงกว่า 45 ปีขึ้นไป กระดูกของสตรี จะเสื่อมและบางมากกว่าบุรุษ เนื่องจากสตรีโดยธรรมชาติ ขณะมีประจำเดือน รังไข่จะผลิตฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน (Estrogen) ออกมา ขณะไข่สุก ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) นอกจากส่งผลต่อสรีระ ทางการสืบพันธุ์โดยตรงของสตรีหลายประการแล้ว ยังมีผลต่อการสะสมน้ำและเกลือแร่ (salts and water retention) เอาไว้ในร่างกายด้วย ทำให้แคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส (Ca&P) ซึ่งเป็นองค์ประกอบ อันสำคัญยิ่งของกระดูก ไม่ถูกขับออกจากร่างกายได้โดยง่าย เมื่อสตรีมีอายุประมาณอายุ 45-50 ปี ประจำเดือนจะมาไม่สม่ำเสมอ และอาจหมดไป ทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เคยมี และถูกผลิตออกมาอย่างสม่ำเสมอหมดไป เกลือแร่ซึ่งมีแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส (Ca&P) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระดูก และน้ำ จะถูกขับออกจากร่างกายของสตรีวัยทอง ได้มากกว่าในบุรุษวัยทอง เนื่องจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคกระดูกพรุน ในระยะแรกๆ แพทย์ได้ให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ร่างกายผลิตได้น้อยลง เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนแก่สตรี ที่ย่างเข้าสู่วัยทอง แต่ภายหลังต่อมาพบว่า การใช้ฮอร์โมนนี้ติดต่อกันยาวนาน อาจทำให้เกิดมะเร็ง ในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของสตรีได ้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มะเร็งที่พบในเต้านม (breast cancer) ในปีปัจจุบัน (ค.ศ.2002) จึงพบฮอร์โมนอีกตัวหนึ่ง ที่สามารถใช้ทดแทนฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ เพื่อการนี้อย่างปลอดภัยกว่า ฮอร์โมนดังกล่าวเรียกว่า ฮอร์โมนดีไฮโดรอีพิแอนโดรสเตอร์โลน (Dehydroepiandrosterone, DHEA) ซึ่งฮอร์โมนดังกล่าว ร่างกายของมนุษย์จะผลิตขึ้น โดยต่อมหมวกไต (adrenal gtand)

 

มนุษย์ในวัยเจริญพันธุ์ ทั้งสตรีและบุรุษ จะมีระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนชนิดนี้ ในกระแสเลือด ประมาณ 300 ug/dL และประมาณ 0.1% ของฮอร์โมนชนิดนี้ อยู่ในรูปอนุพันธุ์ซัลเฟต ในสตรีวัยทอง (หมดประจำเดือน) ฮอร์โมนนี้จะลดระดับลงเหลือเพียง 90 ug/dL

ฮอร์โมนนี้ เมื่ออยู่ในร่างกายมนุษย์ จะสามารถเปลี่ยนให้เป็นฮอร์โมนเพศชาย (tetosterone) และฮอร์โมนเพศหญิง (estrogen) ได้ ซึ่งจะเป็นฮอร์โมนเพศที่จะถูกสร้างขึ้นมา ทดแทนฮอร์โมนเพศ ที่ร่างกายของสตรีและบุรุษวัยทองที่อวัยวะสืบพันธุ์ (รังไข่ และอัณฑะ) เสื่อมสภาพลงตามอายุขัยได้ด้วย ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้น ความต้องการทางเพศ และกิจกรรมทางเพศในผู้สูงอายุที่ได้รับ ฮอร์โมนดีไฮโดรอิพิแอนโดรสเตอร์โลน (DHEA) เสริมเข้าไปทดแทนฮอร์โมนชนิดนี้ที่ขาดหายไป จากระบบการหมุนเวียน ของโลหิต ตามปกติของคนในวัยหนุ่มสาว ทำให้ผู้สูงอายุสตรีและบุรุษวัยทอง อาจมีความต้องการทางเพศ และ กิจกรรมทางเพศฟื้นกลับคืนมา ได้อีกด้วย

โรคกระดูกพรุน และโรคอันเกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทางเพศ ของสตรีและบุรุษวัยทอง เช่นโรคเสื่อมสมรรนะทางเพศ จึงสามารถป้องกันได้ในผู้สูงอายุ โดยการรับประทานอาหาร ที่อุดมด้วยเกลือแร่ และไวตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีแร่ธาตุแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส (Ca, P) ที่ร่างกายสามารถดูดซึมจากอาหาร และนำไปใช้ประโยชน์ได้ สำหรับเสริมสร้างเซลล์กระดูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากแหล่งอาหารตามธรรมชาติ เช่น นมพร่องมันเนยเสริมด้วยไวตามินดี การออกกำลังกาย ชนิดแอโรบิคอย่างสม่ำเสมอ (เดินเร็ว วิ่ง ขี่จักรยาน ฯลฯ) วันละอย่างน้อยประมาณ 30 นาทีอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน เป็นคำแนะนำที่แพทย์ และนักโภชนาการ มักจะแนะนำให้ผู้สูงอายุ สตรีและบุรุษวัยทองต้องปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอ แต่มักจะช่วยให้ภาวะโรคกระดูกพรุน ชลอตัวลงได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น

ท้ายสุด ผู้สูงอายุโดยทั่วไป จะมีอาการกระดูกพรุน จนต้องได้รับการบำบัด โดยการที่แพทย์จะแนะนำ ให้ใช้ฮอร์โมนดีไฮโดรอีพิแอนโดรสเตอร์โลน (Dehydroepiandrosterone, DHEA) เสริมเข้าไปในร่างกาย เพื่อทดแทนฮอร์โมนที่ขาดหายไปตามธรรมชาติ ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้แนะนำ ภายหลังการตรวจวัด ระดับฮอร์โมน ดังกล่าวว่า ได้ลดลงมาก จนอาจเป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุน และโรคเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเมื่อเกิดภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ ที่ไม่ได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ พบว่า อัตราเสี่ยงที่จะเกิดการแตกหักของกระดูก ในส่วนต่างๆ ของร่างกายมีค่อนข้างสูงมาก โดยเฉพาะกระดูก บริเวณส่วนแขนท่อนระหว่างข้อศอกจนถึงข้อมือ (distal forearm) กระดูกสันหลังและกระดูกสโพก เมื่อเกิดการแตกหักของกระดูกบริเวณดังกล่าว จะต้องได้รับการรักษาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลอย่างมหาศาล และมีรายงานทางการแพทย์ว่า อัตราการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน ของการแตกหักของกระดูกสะโพกในผู้สูงอายุ มีสูงถึง 12-20% ของผู้ป่วย และประมาณ 50% ของผู้สูงอายุที่รอดตายจากการป่วยดังกล่าว ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมหาศาล ซึ่งจะต้องเป็นภาระทางการเงินแก่ตนเอง และครอบครัวที่เกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ลักษณะอาการของผู้สูงอายุสตรี และบุรุษวัยทอง ที่แสดงออกว่ากำลังเกิด ภาวะโรคกระดูกพรุนในร่างกาย ที่สามารถรู้ได้ด้วยตนเอง คือ

 
1.
ฟันจะมีอาการเสียวฟันได้บ่อยๆ เนื่องจากมีการร้าวของฟัน โดยที่ฟันไม่มีรอยผุ หรือไม่มีการร่นของเหงือก โดยปกติ อาการเสียวฟัน มักมีปัญหามาจากฟันผุ หรือการมีเหงือกร่น ทำให้ส่วนผิวของรากฟันเผยผึ่ง (cementum expose) ในกรณีเสียวฟันเช่นนี้ ทันตแพทย์จะทำการรักษาฟันผุ และผิวของรากฟัน ที่เผยผึ่งให้กลับดีขึ้นดังเดิม อาการเสียวฟัน ก็จะหายไป

แต่ในกรณีนี้ อาการเสียวฟันเกิดขึ้นจากการร้าวของฟัน (crack tooth syndrome) การร้าวของฟัน ที่ทำให้เกิดอาการเสียวฟัน เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากการเคี้ยวอาหาร ที่มีความแข็งมากกว่าปกติ การกัดก้อนกรวดขนาดเล็ก ที่ปะปนมาในข้าวที่เรารับประทาน การกัดเน้นฟัน (clenching) และการนอนกัดฟัน (bruxism) เป็นต้น

ฟันที่เกิดรอยร้าว จะพยายามรักษาตัวเอง ด้วยการสร้างเนื้อฟันจากด้านโพรงประสาทฟัน ขึ้นมาเสริมความแข็งแรง (reparative dentine) จึงทำให้รอยร้าวนั้น เข้าไปไม่ถึงโพรงประสาทฟัน และทำให้อาการเสียว และปวดฟันอาจหายไปเองได้ในบุคคลทั่วไป ที่ยังไม่มีภาวะอาการของโรคกระดูกพรุน ในผู้สูงอายุ การร้าวของฟันจะค่อยๆ เกิดขึ้น เนื่องจากภาวะการสร้างเนื้อฟัน ขึ้นมาเสริมความแข็งแรงของฟัน เกิดขึ้นได้ช้ากว่าคนหนุ่มสาว ฟันจะมีอาการเสียว เนื่องจากการร้าวของฟัน (crack tooth syndrome) ได้มากกว่าคนหนุ่มสาว ซึ่งเราสามารถสังเกตุได้ด้วยตนเอง โดยสังเกตุดูว่าฟันซี่ดังกล่าวนั้น จะมีอาการเสียวเมื่อเคี้ยว หรือ กัดอาหารที่แข็งและเหนียวมากๆ และบางครั้งจะมีอาการปวด หรือเสียวในขณะคลายแรงกัด หรือเคี้ยวร่วมด้วย โดยที่ฟันไม่มีรอยผุ หรือไม่มีการร่นของเหงือก

ในกรณีที่มีอาการเสียวฟัน ผู้สูงอายุควรไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุโดยละเอียด และต้องได้รับการรักษาโดยด่วน เพราะถ้ารอยร้าวนั้นเกิดการขยายใหญ่ขึ้น หรือลุกลามไปถึงรากฟันแล้ว จำเป็นต้องถอนฟันซี่นั้นออก เพราะในปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีรักษาฟัน ที่แตก (vertical root fracture) ได้

 
2.
ฟันผุกร่อน และหลุดล่วงง่าย
 
3.
หลังงุ้มลง และส่วนสูงลดลง เนื่องจากข้อต่อของกระดูกสันหลัง เริ่มปรากฏการเสื่อมลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสื่อม และบางลงของหมอนรองกระดูกสันหลัง ผู้สูงอายุบางท่านเมื่อวัดส่วนสูงดู ปรากฏว่าส่วนสูง อาจลดลงได้ถึง 2 เซนติเมตร จากส่วนสูงเดิมที่เคยวัดได้ ขณะเมื่อเป็นหนุ่มและสาว
 
4.
ขาหรือเข่า เริ่มมีอาการโก่งออกมามากกว่าปกติ เนื่องจากผู้สูงอายุบางท่านมี น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากความอ้วน ขาและเข่าที่เริ่มมีภาวะกระดูกพรุน ต้องรับน้ำหนักกดทับมากขึ้น ทำให้ขาโก่งกว่าปกติได้
 
5.
เมื่อออกเดินบางครั้ง จะมีอาการปวดเสียวบริเวณข้อต่อต่างๆ เช่น ข้อเข่าเป็นต้น ซึ่งเกิดจากการเสื่อมลงของเซลล์ต่างๆ บริเวณข้อต่อต่างๆ รวมทั้งการเสื่อมลงของ เซลล์กระดูกบริเวณดังกล่าวด้วย
 
6.
อาการปวดกระดูก ซึ่งนายแพทย์สิรินทร์ ชัยกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญออร์โธปิดิกส์ สถานพยาบาล ม.เกษตรศาสตร์ ได้อธิบายไว้ดังนี้ อาการปวดกระดูก เป็นอาการที่สำคัญของคน ที่เป็นโรคกระดูกโปร่งบาง หรือกระดูกพรุน อาการนี้ อาจยังไม่แสดงให้ผู้ป่วยในระยะแรกๆ สาเหตุแห่งการปวดกระดูก เนื่องมาจากมีการยุบ หรือหักในเนื้อกระดูก แต่กระดูกยังคงรูปอยู่ได้ เมื่อมีปัจจัยภายนอกมากระทบ เช่น หกล้ม กระดูกก็จะหักให้เห็นชัดเจน

กระดูกที่มีอาการปวด และพบได้บ่อยๆ คือ กระดูกสันหลัง สะโพก และกระดูกปลายแขน เพราะกระดูกเหล่านี้ มีลักษณะจำเพาะ คือ เนื้อกระดูกเป็นฟองน้ำ มีแคลเซี่ยมเป็นแกน (caucellous bone) หุ้มด้วยกระดูกแข้ง (cortex) บางๆ ส่วนกระดูกของร่างกายส่วนอื่น เกิดอาการปวดน้อยมาก เพราะลักษณะของกระดูกเป็นกระดูกแข็ง (cortex) เป็นส่วนใหญ่

อย่างไรก็ตามมิใช่ว่าผู้ป่วยที่ปวดหลัง ปวดสะโพก ปวดข้อมือทุกราย มีสาเหตุมาจากโรคกระดูกพรุน

ถ้าปรากฏอาการดังกล่าว ต่อตัวท่าน ผู้เขียนขอแนะนำ ให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านกระดูกและฟัน (ทันตแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางกระดูก) ณ คลีนิกวัยทอง ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆ ของรัฐบาล หรือเอกชน ก่อนที่อาการของโรคกระดูกพรุน จะลุกลามต่อไป จนเป็นปัญหาใหญ่หลวง ต่อสุขภาพของท่านดังได้กล่าวมา คือ การต้องสูญฟันของท่านไปอย่างถาวร และเกิดการแตกหักของกระดูก ตามส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ท่านต้องไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ในเรื่องกระดูกพรุนของผู้สูงอายุเท่านั้น


ดร. สุรชัย ชาครียรัตน์

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 26 สิงหาคม 2545  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
ปรับชีวิตให้สมดุลทุก 10 ปี
 
การปวดประจำเดือน
 
โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
 
ผักผลไม้ 7 อย่าง ที่คุณผู้หญิงไม่ควรพลาด
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.