หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
การวินิจฉัยโรคปวดท้องน้อย
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


เนื่องจากสาเหตุของการปวดท้องน้อยมีหลายอย่าง เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์อาจจะต้องใช้เวลาในการหาสาเหตุที่ถูกต้อง เริ่มต้นด้วยการซักถามประวัติ เกี่ยวกับการปวดการมีประจำเดือน การมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย รวมทั้งความเป็นอยู่ สภาพจิตใจ และการตรวจร่างกาย รวมทั้งการตรวจภายใน อาจต้องปรึกษาแพทย์ต่างแผนกบ้าง แล้วแต่ว่านึกถึงโรคอื่นใด  นอกเหนือจากโรคทางสตรี  อาจต้องมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติม นอกเหนือจากการตรวจภายใน และการตรวจร่างกาย แล้วแต่ว่าอาการและการตรวจของแพทย์สงสัยโรคอะไร  เพื่อความมั่นใจในการวินิจฉัย  เช่น

 
•
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง  (Ultrasound) ซึ่งจะทำให้เห็นลักษณะของมดลูกและปีกมดลูกได้ดี
 
•
การส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ
 
•
การตรวจทวารหนักและส่องตรวจสำไส้ใหญ่
 
•
การส่องตรวจทางหน้าท้องดูในอุ้งเชิงกราน
 
•
การทำเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์หรือเอ็มอาร์ไอ
 
•
การฉีดสีดูระบบทางเดินปัสสาวะ
 
•
การกลืนแป้งหรือสวนแป้งเอกซ์เรย์ดูทางเดินอาหาร

การซักประวัติ  :  ให้บอกแพทย์ให้ละเอียดว่าลักษณะการปวดเป็นอย่างไร

 
•
เป็นมากเวลาไหน
 
•
ปวดประจำเดือนหรือไม่
 
•
เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ
 
•
การถ่ายอุจจาระ
 
•
การมีเพศสัมพันธ์
 
•
ท่าทางการเดินนั่งในชีวิตประจำวัน
 
•
การออกกำลังกาย
 
•
การหลับนอนกลางคืน

เล่าให้แพทย์ฟังถึงลักษณะการปวด

 
•
ปวดจี๊ดๆ  หรือ ตื้อๆ
 
•
ปวดเป็นพักๆ หรือปวดตลอดเวลา
 
•
ระยะเวลาที่ปวดมาก
 
•
ความรุนแรง
 
•
ตำแหน่งที่ปวดอยู่ที่เดียว  หรือเปลี่ยนตำแหน่ง
 
•
อะไรทำให้ดีขึ้น  หรือ เลวลง

 


นพ. ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล
สูติ-นรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรักษาผู้มีบุตรยาก รพ.วิภาวดี

 
       
    แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลวิภาวดี - www.vibhavadi.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
สารพันสงสัยยามวัยทอง
 
ตรวจภายใน
 
ตรวจภายในไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
 
ตรวจก่อน รู้ก่อน ปลอดภัยกว่า
 
สำรวจจุดซ่อนเร้นก่อนสายเกินแก้ ก้
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.