หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
ว่าด้วยเรื่อง ก้อนที่เต้านม
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


เต้านม เป็นอวัยวะสำคัญที่บ่งบอกถึง ความเป็นสัตว์โลกที่เลี้ยงลูกด้วยนม สำหรับมนุษย์ถือว่า เต้านมเป็นสัญลักษณ์ ทางเพศที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะเพศหญิง ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยแก่ ถ้าปราศจากอวัยวะนี้แล้ว คงจะมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย อย่างน้อยที่สุด ความเป็นผู้หญิงคงจะด้อยลงไป ดังนั้น หามีโรคภัยไข้เจ็บ ที่เกี่ยวกับเต้านม และทำให้ผุ้หญิงต้องสูญเสีย ของสงวนสิ่งนี้แล้ว คงจะสร้างความสะเทือนใจเป็นอย่างยิ่ง แม้แต่ผู้ชายเวลานมแตกพาน บางครั้ง ยังอับอายเพื่อนฝูง จนต้องขอให้แพทย์ช่วยผ่าตัดให้

เต้านม ยังทำหน้าที่สำคัญ ในการสืบทอดความเป็นสิ่งมีชีวิต กล่าวคือ ตามขั้นตอนของการสืบพันธุ์ สำหรับสตรีเลี้ยงลูกด้วยนมนั้น เต้านมต้องทำหน้าที่ ผลิตน้ำนมเพื่อเลี้ยงทารก

การเปลี่ยนแปลงของเต้านม

เมื่อเติบโตเข้าระยะวัยรุ่น เต้านมจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ภายใต้การควบคุมของฮอร์โมน 2 ชนิด คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากรังไข่ กระตุ้นให้เกิดการขยายตัวของหัวนม รวมทั้งท่อน้ำนมต่างๆ พร้อมกับกระตุ้น ให้มีไขมันแทรกระหว่างท่อน้ำนม ฮอร์โมนอีกชนิดคือ โปรเจนเตอโรน ซึ่งร่างกายจะผลิตออกมาทุกเดือนตามรอบเดือน คอยกระตุ้นปลายท่อน้ำนมให้ขยาย เป็นที่อยู่ของต่อมน้ำนม ทำหน้าที่ผลิตน้ำนม ดังนั้น เวลาประจำเดือนใกล้จะมา ผู้หญิงจะรู้สึกว่าเต้านมโตขึ้น และตึงคัด ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติ ที่ร่างกายตอบสนอง ต่อฮอร์โมนโปรเจนเตอโรน ที่หลั่งออกมาในช่วงเวลาดังกล่าว ย่อมหมายความว่า วงจรของชีวิตแห่งความเป็นเพศหญิง กำลังดำเนินไปอย่างปกติ

เต้านมที่เติบโตเต็มที่ จะมีรูปร่างเกือบจะเป็นครึ่งทรงกลม มีส่วนปลายยื่นเข้าไปบริเวณรักแร้ หัวนมจะเชิดขึ้นเล็กน้อย เป็นที่เปิดของท่อน้ำนม หัวนมจะล้อมรอบด้วยเนื้อเยื่อสีชมพู เรียก ฐานหัวนม (AREOLA) เต้าที่นมแต่ละข้าง มีเส้นประสาทและเนื้อเยื้อพังผืด ประกอบจนเป็นรูปร่าง ที่มีความเต่งตึงในยามสัมผัส หัวนมจะมีเส้นประสาทมาหล่อเลี้ยง เพื่อประโยชน์ในการเลี้ยงลูกด้วยนม

เต้านมของผู้หญิง วางอยู่บนแผงหน้าอกด้านหน้า มีขอบเขตตั้งแต่ กระดูกซี่โครงที่ 2-6 จากบนลงล่าง และตั้งแต่กระดูกหน้าอก ไปจนถึงด้านข้างของทรวงอก เต้านมของผู้ชาย จะไม่เจริญเท่าผู้หญิง นอกจากในช่วงแตกเนื้อหนุ่ม อาจโตขึ้นเล็กน้อย เป็นการชั่วคราวที่เรียกว่า "นมแตกพาน"

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

สำคัญมากสำหรับผู้หญิงที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไป ควรสร้างอุปนิสัยในการตรวจเต้านม ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และหมั่นคลำหาก้อนที่ผิดปกติในเต้านม

การตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยการคลำอย่างเป็นระบบ ใช้มือขวาในการคลำเต้านมข้างซ้าย และสลับกันคือ ใช้มือซ้ายคลำเต้านมด้านขวา คลำเต้านมโดยใช้ฝ่ามือเพียง 2-3 นิ้ว สัมผัสด้วยการหมุนไปรอบๆ ตามเข็มนาฬิกากดเบาๆ เพื่อให้ผิวหนังอยู่กับที่ เริ่มจากขอบนอกบนสุด หมุนเป็นวงกลมช้าๆ ตามเข็มนาฬิกา จนกลับมาถึงจุดเริ่มต้น ขยับน้ำมือเข้าไปหาหัวนมราว 1 นิ้ว แล้วหมุนรอบซ้ำแบบเดิมอีก จนเข้ามาในสุดถึงหัวนม พยายามใช้ความรู้สึกสัมผัส ของเต้านมปกติว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้จำได้ว่า เวลาเกิดความผิดปกติแล้ว มันจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ท่านที่มีรูปร่างผอมบาง อาจมีปัญหาว่ากระดูกหน้าอก อาจปรากฎชัดเจน จนคลำดูเหมือนก้อน

โปรดระลึกไว้เสมอว่า แม้ว่าท่านจะตรวจพบก้อนที่เต้านม ด้วยตนเองก็ตาม แต่แพทย์เท่านั้น ที่จะเป็นผู้ยืนยันว่า ก้อนที่ท่านคลำได้นั้น เป็นก้อนที่ผิดปกติจริงหรือไม่ และเป็นชนิดไม่ร้ายแรง หรือเป็นมะเร็ง ข้อสำคัญ ขอเพียงแต่ให้ท่าน ขยันหมั่นตรวจเต้านม ด้วยตนเองบ่อยๆ เป็นประจำ

ก้อนที่เต้านม และ มะเร็งเต้านม

การรักษามะเร็งเต้านม

 

 
       
    แหล่งข้อมูล : http://web.ku.ac.th/saranaroo  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
มะเร็งเต้านม
 
คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมไหม ?
 
ควรเริ่มตรวจเต้านมเมื่อใด ?
 
แมมโมแกรม
 
วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.