หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
อาหารกับโรคหัวใจ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


การดูแลอาหารเพื่อป้องกันโรคหัวใจมีจุดประสงค์เพื่อลดไขมันที่เป็นผลเสียต่อร่างกาย คือ LDL, Triglyceride และเพิ่มระดับไขมันที่เป็นผลดีต่อร่างกายได้แก่ HDL นอกจากนี้ยังต้องระวังอาหารที่จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นซึ่งได้แก่อาหารเค็มๆ ทั้งหลายด้วย

 
•
อาหารไขมัน : ไขมันในเลือดประมาณ 2/3 ได้มาจากการสร้างที่ตับ โดยการย่อยจากไขมันอิ่มตัวที่เรารับประทาน หากเรารับประทานไขมันอิ่มตัวมากไขมันในเลือดก็จะสูง
 
 
•
ประเภทของไขมัน : ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated), ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated), ไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acids) และ trans-fatty acids
 
•
ไขมันที่เป็นผลเสียต่อร่างกายได้แก่ ไขมันอิ่มตัว และ trans-fatty acids พบมากในอาหารไขมันที่มาจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ อาหารทอดทั้งหลายส่วนใหญ่จะทอดด้วยน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันมะพร้าว ดังนั้นจึงต้องเลี่ยงอาหารทอด trans-fatty acids มีผลเสียต่อหัวใจและยังเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย
 
•
ไขมันที่มีผลดีต่อร่างกาย คือ ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน
 
•
น้ำมันมะพร้าวหรือไขมันจากสัตว์ จะมีไขมันอิ่มตัวสูง
 
•
ไขมันที่มาจากพืชจะมี alpha-linolenic acid จะช่วยลด triglyceride และป้องกันโรคหัวใจ
     
 
•
เนื้อปลา : ประโยชน์ของเนื้อปลาเท่าที่มีรายงานพบว่า ลดอัตราการตายจากโรคหัวใจ ลดระดับไขมัน Triglyceride ป้องกันระบบประสาท ป้องกันโรคข้ออักเสบ rheumatoid โรคหอบหืด และมะเร็งบางชนิด ปลาที่มีไขมันมากเช่น ปลาแซลมอน ปลาดาบ ปลาทูน่า แนะนำให้รับประทานเนื้อปลา 1 – 2 ส่วน ต่อสัปดาห์จะให้ประโยชน์สูงสุด
     
 
•
ถั่วเหลือง : เป็นอาหารโปรตีนที่ดีมากเพราะมีใยอาหาร omega-3 fatty acids และมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ในถั่วเหลืองยังมีสารที่ทำหน้าที่เหมือน estrogens เรียก phytoestrogens ซึ่งจะลดไขมันและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ พบว่าคนที่รับประทานถั่วเหลืองจะมีระดับ LDL, Triglyceride ลดลงและมีการเพิ่มของไขมันที่ดี คือ HDL แนะนำว่าควรจะรับประทานวันละ 25 กรัม (น้ำเต้าหู้ 1 แก้ว มีถั่วเหลือง 13 กรัม)
     
 
•
น้ำตาล : เพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย โดยที่ไม่มีสารอาหารและยังทำให้น้ำตาลเพิ่มอย่างรวดเร็ว และทำให้ไขมัน triglyceride และน้ำหนักเพิ่ม
     
 
•
กาแฟ : การดื่มกาแฟจะเพิ่มการขับแคลเซียมออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญของกระดูกและหัวใจ นอกจากนั้นกาแฟบางชนิดจะเพิ่มระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ดังนั้นควรที่จะดื่มชามากกว่า เนื่องจากในชาจะมีสาร flavonoid ซึ่งป้องกันโรคหัวใจได้
 
       
    แหล่งข้อมูล : หนังสือ - เป็นโรคหัวใจทำอย่างไรดี  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
บริโภคอย่างไรจึงจะไม่เป็นโรคหัวใจ
 
รับประทานอย่างไร ปลอดภัยจากโรค
 
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ
 
รอบรู้เรื่องอาหาร ลดปัญหาโคเลสเตอรอล
 
แนวทางการบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.