หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
อันตราย 13 อย่าง ของ ผู้สูงอายุ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 



ในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางด้านการแพทย์ ได้ช่วยให้คนมีอายุยืนยาวขึ้นไปกว่าแต่ก่อนมาก แต่ก่อนมาก แต่สถิติอายุเฉลี่ยของคน น่าจะเพิ่มสูงขึ้น ถ้าสถิติการประสบอันตรายจนถึงแก่ชีวิต ในบ้านของผู้สูงอายุลดน้อยลง จากสถิติของสหรัฐอเมริกาปราฏว่า มีผู้วัยเกินกว่า 65 ปี ประสบอันตรายภายในบ้านมาก กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ประสบอันตรายทั้งหมด ฉะนั้น ควรที่เราผู้เป็นลูกหลาน จะต้องช่วยกันดูแลป้องกันภยันตราย ที่จะเกิดขึ้นกับท่านผู้ชรา สิ่งที่ให้ความสนใจเพราะ เคยเกิดอันตรายมากมายแล้ว มีดังนี้

 

 
1.
  การใช้ยาและรับประทานยาผิด เพื่อกันการสับสนดูแล ให้กินยาให้ถูกต้องตรงตามกำหนด ตามลำดับก่อน-หลัง โดยจัดเป็นตารางประจำวันไว้ ขวดยาควรติดป้ายบอกด้วยสีสด อักษรอ่านง่าย
       
 
2.
  การใช้ยาเกินขนาด นับว่าเป็นอันตรายอีกอย่างหนึ่ง ฉะนั้น ควรจัดเตรียมยา ที่จะต้องรับประทานในแต่ละมื้อ แยกไว้ต่างหาก เช่น ในเวลากลางคืนควร วางไว้บนโต๊ะ ข้างเตียง มีโคมไฟอยู่ใกล้เตียง ควรแนะนำให้ท่านสวมแว่นตา ขณะเลือกและรับประทานยา
       
 
3.
  อย่าเก็บของสุมไว้ในตู้จนแน่นไปหมด เพราะของเหล่านั้น อาจร่วงหล่นถูกศีรษะได้ ถ้าจะเก็บยากินกับยาใช้ภายนอก (ทา) ไว้ด้วยกันต้องแยกให้ดี ประเภทยาทา ควรมีเครื่องหมายกากบาทติดไว้ อย่าเก็บสารละลายที่ใช้ทำความสะอาด หรือยาฆ่าแมลงไว้ใกล้อาหาร
       
 
4.
  ระวังการขัดยอกจากการที่ต้องขึ้นบันได ผู้สูงอายุควรจัดให้อยู่ในห้องชั้นล่าง เพื่อจะได้ไม่ต้องขึ้นลงบันได เพราะขณะขึ้นลง อาจเกิดการเคล็ดยอก และพลัดตกได้ง่าย ควรจัดให้มีห้องน้ำติดกับห้องนอน และห้องนอนจะต้องเข้าถึงได้ง่าย สามารถให้การช่วยเหลือได้ ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น เพลิงไหม้ เป็นต้น
       
 
5.
  ป้องกันการพลัดตกหกล้มและกระดูกหัก ผู้ชราที่มีอายุเกินกว่า 65 ปีกว่าาครึ่งหนึ่ง ถึงแก่ความตาย เพราะการพลัดตกหกล้ม และประมาณ 75 % เกิดขึ้นภายในบ้าน ผลของการหกล้ม มักจะทำให้กระดูกหัก ซึ่งจะรักษาให้หายได้ยาก ฉะนั้น บ้านเรือนควรดูแลให้อยู่ในสภาพแข็งแรง พื้นบ้านและทางเดินต้องไม่ลื่น พื้นไม่ควรขัดมัน พบสิ่งใดหกราดบนพื้น ต้องรีบเช็ดให้แห้งทันที การจัดวาง หรือย้ายเครื่องเรือน จะต้องคำนึงถึงความเคยชินของคนชรา อย่าให้ขวางทางเดิน
       
 
6.
  ระมัดระวังในสิ่งที่จะทำให้สะดุดหกล้ม ได้แก่ สายของโคมไฟฟ้าของเด็กเล่น เครื่องเรือนขนาดเล็ก หรือเตี้ย ม้าวางเท้าเศษผ้าขี้ริ้ว ขอบพรมที่ม้วนงอ ขึ้นสิ่งเหล่านี้ มักจะทำให้สะดุดหกล้มได้ง่าย ต้องระวังอย่าให้อยู่ในทางเดิน ผู้สูงอายุไม่ควรสวมเสื้อผ้าหลวม หรือกระโปรงยาว ลากพื้นหรือ สวมรองเท้าที่ใหญ่ หรือเล็กเกินไปไม่เหมาะกับเท้า
       
 
7.
  ระมัดระวังอย่าให้มีการออกแรงมากจนเกินกำลัง ผู้ชรามักคิดว่าตนเองทำอะไรหนักๆๆ ได้ ฉะนั้น จงอย่าปล่อยให้คนชรา ทำงานหนักเกินกำลัง เช่น ตัดหญ้า ย้ายเครื่องเรือน ซักรีดเสื้อผ้า เป็นต้น ของใช้ที่จำเป็นต้องใช้ประจำ เก็บไว้ในระดับที่หยิบฉวยได้ง่าย คือระดับระหว่างตากับตะโพก ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยง การปีนป่าย หรือ เอื้อมหยิบของในที่สูง บันไดไต่ห้ามขึ้นเด็ดขาด
       
 
8.
  ระวังอย่าให้คนชราใช้สายตาในที่มืดมีแสงจ้า เพราะตาของผู้สูงอายุ นับวันแต่จะเสื่อมลง จึงควรถนอมให้เสื่อมช้าที่สุด บันได้ต้องจัดให้มีแสงสว่าง เพียงพอ มีสวิทซ์ ปิด-เปิด ได้ทั้งด้านบนและด้านล่าง ในห้องนอน ควรมีโคมแสงสว่างที่มีสวิทซ์ ปิด-เปิดไว้ทั้ง 2 ด้าน ทั้งก่อนเข้าห้อง และสุดมุมของห้องอีกด้าน หรือข้างเตียงนอน เพื่อจะได้ปิด-เปิดได้ทันที
       
 
9.
  ปรับระดับความสูงของเก้าอี้และเตียงนอนให้เหมาะสม อย่าให้ผู้สูงอายุต้องออกแรงกล้ามเนื้อมาก เมื่อจะลุกนั่ง หรือขึ้นลงขณะนั่งเก้าอี้ หรือบนเตียงควรวางเท้าบนพื้นได้เต็มเท้า อย่าให้ผู้สูงอายุเคลื่อนไหวตัวเร็วนัก เพราะจะเสียการทรงตัวได้ง่าย การอยู่บนที่สูง อาจจะทำให้วิงเวียนศีรษะได้
       
 
10.
  ต้องระมัดระวังอันตรายในขณะอาบน้ำ ถ้าผู้สูงอายุ ไม่แข็งแรงเวียนศีรษะบ่อย ต้องคอยดูแลช่วยเหลือเวลาอาบน้ำ เพื่อความปลอดภัย ในห้องน้ำ ควรจัดทำราวสำหรับมือจับไง้ ในอ่างอาบน้ำ ควรปูแผ่นยางกันลื่น ซึ่งไม่ทำให้เจ็บเท้า ส้วมที่นั่งอาบน้ำราวมือจับ สิ่งเหล่านี้ต้องไม่ลื่น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมิได้ หมายความว่า เมื่อมีสิ่งดังกล่าวแล้ว จะละทิ้งเครื่องช่วยพยุงตัวอย่างอื่นได้
       
 
11.
  เหตุเพลิงไหม้กับความหลงลืม ผู้สูงอายุ มักไม่ค่อยคำนึงถึงอันตราย หรือสาเหตุที่จะทำให้เกิดเพลิงไหม้ จึงชอบเสี่ยง หรืออาจจะเพราะความหลงลืม เพื่อเป็นการป้องกันควรจัดเตรียม ที่เขี่ยบุหรี่ที่มีก้นลึกมีน้ำหนักพอสมควร และมีฝาปิดไว้ให้ใช้ ควรดูแลอย่าให้สูบบุหรี่ในที่นอน คอยสอดส่องดูแล ควันไฟที่เกิดผิดปกติขึ้น ปุ่มควบคุมของเตาหุงต้ม ต้องมีเครื่องหมายแสดงการใช ้การปรับไว้อย่างชัดเจน และต้องทำงานได้เป็นอย่างดี ผู้สูงอายุไม่ควรสวมใส่เสื้อแขนยาว หรือใช้เสื้อผ้าชนิดที่เนื้อ บางเบาจนเกินไป

โปรดซักซ้อมทำความเข้าใจกับท่าน ให้ทราบถึงทางหนีทีไล่ถ้าเกิดเพลิงไหม้ขึ้น เช่น ให้ทราบทางหนีไฟที่ต้องใช้ และทางสำรอง หรือจะต้องทราบว่าควร ขอความช่วยเหลือจากใคร

       
 
12.
  ต้องระมัดระวังในการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ไม่ปลอดภัย 25% ของผู้สูงอายุเกิน 65 ปี เสียชีวิต เพราะบาดแผลไหม้พองจากของร้อน เช่น อาจจะเกิดจากเตารีดไฟฟ้า หม้อหุงต้มที่มักจะวางลืมไว้บนเตา เพราะอาจหลุดหล่นได้ เครื่องครัวควรเป็นแบบที่มีน้ำหนักเบา ก้นแบน หูและมือจับมีฉนวนกัน ความร้อน ถ้าเป็นเครื่องใช้ที่ไม่เคยใช้มาก่อน ต้องแสดงสาธิตให้ดูอย่างละเอียดก่อน
       
  13.   อุบัติเหตุจากยานพาหนะ ไม่ควรให้ผู้สุงอายุ ออกนอกบ้านในยามค่ำคืน เพราะอาจประสบอุบัติเหตุ จากการจราจรได้ง่าย ถ้าจำเป็นต้องออกนอก บ้านควรให้ส่วมเสื้อผ้าสีอ่อน หรือถือสิ่งของที่มีสีขาว ในกรณีการนั่งโดยสารรถ ต้องให้รัดเข็มขัดนิรภัย และคอยดูแลในขณะขึ้นลง เพราะอาจจะแทรกหรือเคล็ดเคลื่อน ได้ รวมทั้ง ให้ระวังการถูกประตูหนีบด้วย
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.ku.ac.th/e-magazine - นิตยสารเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 23 พฤษภาคม 2545  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
อาการแรกเริ่มของสมองเสื่อม
 
โรคซึมเศร้า
 
สุขภาพฟันในผู้สูงอายุ
 
ตรวจร่างกาย ผู้สูงอายุ
 
10 แนวทาง ป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.