หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
เวียนศีรษะ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


ปัญหานี้ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ  แต่บางคนก็เริ่มเป็นตั้งแต่อายุไม่มากนัก ทำให้มีอาการเวียนศีรษะเป็นๆหายๆ  อาจมีบ้านหมุน  โคลงเคลง คลื่นไส้อาเจียน บางครั้งเป็นมากอาจต้องนอนนิ่งๆ หลับตา  ถ้าลืมตาหรือพลิกตัว อาจมีอาการเวียนศีรษะมากขึ้นมาทันที

ปกติการควบคุมการทรงตัวของร่างกาย ไม่ให้โคลงเคลงหรือเซ  จะต้องประกอบไปด้วยระบบต่างๆ ที่ดี  ดังต่อไปนี้

 
1.
อวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน เป็นอวัยวะรูปครึ่งวงกลม ตั้งฉากซึ่งกันและกัน มีขนาดเล็กมาก ทำหน้าที่รับรู้การเคลื่อนไหว ของศีรษะทุกทิศทาง
 
2.
การมองเห็น จะคอยปรับการรับรู้สิ่งแวดล้อม โดยภาพที่เห็น
 
3.
ระบบประสาท ได้แก่ ระบบประสาทรับความรู้สึก ที่จะรับรู้ว่าขณะนี้ร่างกายกำลังอยู่ในท่าทางใด ตลอดจนสมองน้อย ซึ่งควบคุมการทรงตัวของร่างกายเรา
 
4.
ระบบกล้ามเนื้อและข้อต่อ ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของผู้สูงอายุ ที่ทำให้การทรงตัวไม่ดี เช่น ข้อเข่าเสื่อม โก่งผิดรูป  กระดูกสันหลังโก่ง เอียง  เป็นต้น

ผู้สูงอายุ จะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบเหล่านี้ จากอายุที่มากขึ้นทำให้มี การเสื่อมสภาพของอวัยวะทรงตัว ในหูชั้นใน  การมองเห็นที่ลดลงจากโรคตาต่างๆ เช่น ต้อกระจก ต้อหิน เป็นต้น ระบบประสาทรับรู้ เริ่มทำงานลดลง กล้ามเนื้อและข้อต่อ มีปัญหา มีโรคข้อเสื่อมเป็นต้น จึงทำให้การทรงตัวไม่ดี

ปัจจัยอื่นที่ทำให้ผู้สูงอายุ เสียการทรงตัวเร็วขึ้น

 
1.
โรคที่มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต  ทำให้เกิดการตีบของหลอดเลือด เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะทรงตัวหูชั้นในได้ไม่ดี หรือไปเลี้ยงสมอง ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวไม่เพียงพอ  ตัวอย่างโรคเหล่านี้ได้แก่ โรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง  โรคหัวใจ เป็นต้น
 
2.
โรคที่มีผลต่อการทำงาน ของระบบประสาทการรับความรู้สึก  ทำให้ระบบประสาท ไม่สามารถรับความรู้สึกได้ว่า ร่างกายกำลังอยู่ในท่าทางใด เช่น โรคเบาหวาน โรคไตวาย เป็นต้น
 
3.
โรคที่มีผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูก จะทำให้การทรงตัวแย่ลง  แต่ไม่มีอาการเวียนศีรษะ เช่น ข้อเสื่อม หรือเคยมีกระดูกหักมาก่อน เป็นต้น
 
4.
โรคของหูต่างๆ  อาจทำให้หูทำงานแยาลง เช่น หูน้ำหนวก โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นต้น
 
5.
โรคอื่นๆ เช่น ซีด โรคต่อมธัยรอยด์ เป็นต้น

การดูแลรักษาอาการเวียนศีรษะ

ก่อนอื่นก็ต้องหาสาเหตุของ อาการเวียนศีรษะก่อนว่าเกิดจากอะไร โดยไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจร่างกาย  ในบางรายอาจต้องตรวจเพิ่มเติมอย่างอื่น เช่น ตรวจเลือด ตรวจหูและการได้ยิน ตรวจเอ็กซเรย์สมอง ซึ่งคงต้องแล้วแต่ผู้ป่วยแต่ละรายไป

สำหรับผู้สูงอายุที่มีอาการเดินเซ เวียนศีรษะ มึนงง ไม่ควรให้ท่านนั่ง หรือนอนอยู่แต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรให้ได้เดิน และทำกิจวัตรประจำวันด้วย แต่ต้องมีญาติคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และช่วยเหลือท่านเป็นบางครั้ง แต่ไม่ต้องช่วยพยุงเดินตลอดเวลา เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุนั้น อาจไม่สามารถเดินเองได้อีกต่อไป

สำหรับการรักษาประกอบไปด้วยการรักษา 3 วิธีใหญ่ๆ คือ

 
1.
การใช้ยา  ซึ่งยาที่ใช้มีหลายชนิดด้วยกัน ข้อควรระวังสำหรับการใช้ยาเหล่านี้คือ ไม่ควรใช้ยาเหล่านี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้การปรับตัวตามธรรมชาติ เพื่อลดอาการเวียนศีรษะถูกกดโดยยา ทำให้มีอาการเวียนศีรษะเรื้อรัง นอกจากนั้น ยาเหล่านี้บางครั้ง อาจทำให่ผู้สูงอายุง่วงซึม และเกิดอาการแข็ว เกร็ง สั่น เหมือนที่พบในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันได้
 
2.
การผ่าตัด ใช้ในผู้ป่วยส่วนน้อย และเป็นโรคที่แพทย์พิจารณาแล้วว่า การผ่าตัดทำให้อาการดีขึ้น
 
3.
การทำกายบริหาร เป็นสิ่งที่มักจะไม่ได้ทำและถูกมองข้ามไป  การทำกายบริหารจะลดอาการ เวลาเกิดการเวียนศีรษะขึ้น และทำให้หายเร็วขึ้น ใช้ในกรณีที่เป็นมานานเกิน 1-2 เดือน การทำกายบริหารนี้หมายถึง การทำกายบริหารสายตา และกล้ามเนื้อคอ การทำกายบริหารในท่าที่เวียน และการทำกายบริหารทั่วไป  ซึ่งจะต้องทำครั้งละอย่างน้อย 15-30 นาทีขึ้นไป ทำบ่อยๆ วันละกี่ครั้งก็ได้  แต่ต้องอดใจรอผลประมาณ 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป กว่าจะเห็นผล สำหรับท่ากายบริหารลองปรึกษาแพทย์ดูนะครับ


นพ. วีรศักดิ์  เมืองไพศาล

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.si.mahidol.ac.th - คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคที่พบในผู้สูงอายุ
 
ภาวะสมองเสื่อม
 
ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ
 
การเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท
 
ตรวจร่างกาย ผู้สูงอายุ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.