หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
โรคไข้เลือดออก
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


โรคไข้เลือดออก
เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกิว ซึ่งมียุงลายเป็นพาหนะนำโรค โรคนี้พบได้ตลอดปี พบมากในฤดูฝน ส่วนใหญ่จะพบในเด็กแต่ผู้ใหญ่ก็เป็นโรคนี้ได้


โรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นได้อย่างไร


เกิดจากการที่ยุงลายกัดคนที่เป็นไข้เลือดออกและนำโรคมาสู่ผู้อื่น โรคไข้เลือดออกมีอาการอย่างไร

 
•
มีไข้สูงลอย 2-7 วันแม้ให้ยาลดไข้ก็ยังมีไข้อยู่ได้
 
•
ส่วนใหญ่มีหน้าแดง ปวดศีรษะ
 
•
มีอาการไอหรือน้ำมูกไหลเล็กน้อยในบางราย
 
•
เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง
 
•
จะตรวจพบจุดเลือดออกจากการรัดแขน และพบความผิดปกติจากการตรวจเลือดได้ตั้งแต่วันที่ 3 ของอาการไข้
 
•
อาจมีเลือดกำเดาออก อาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
 
•
ไข้มักจะลงในวันที่ 4-5 และอาจมีภาวะช็อคร่วมได้ โดยจะมีอาการกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ไม่ปัสสาวะ

ข้อควรปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าเป็นโรคไข้เลือดออก

 
•
ช่วยลดไข้โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัว ประคบตรงหน้าผาก ซอกคอและขาหนีบ เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย
 
•
รับประทานยาพาราเซตามอลทุก 4 ชั่วโมง
 
•
ไม่ควรใช้ยาลดไข้ กลุ่มแอสไพริน, บลูเฟน ถึงแม้ว่าจะเป็นยาที่ลดไข้ได้ดีและเร็ว แต่มีข้อเสียคือทำให้เลือดออกง่ายขึ้น จึงไม่ควรให้เด็ดขาด ถ้าสงสัยว่าลูกเป็นไข้เลือดออก
 
•
ดื่มน้ำผลไม้หรือน้ำผสมน้ำตาลเกลือแร่บ่อยๆ ป้องกันภาวะขาดน้ำ โดยดูจากการที่ผู้ป่วยปัสสาวะใสและมากพอ ถ้าไม่ปัสสาวะเลยใน 6 ชั่วโมงควรนำผู้ป่วยมาพบแพทย์
 
•
พาไปพบแพทย์เมื่อไข้สูงเกิน 2 วันเพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง หากมีอาการอาเจียนมาก รับประทานอาหารไม่ได้ ควรไปพบแพทย์ก่อนกำหนด
 
•
ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พากลับไปตรวจติดตามอาการเป็นระยะๆ
 
•
ระยะไข้ลดในวันที่ 4-5 ของไข้ ถ้ามีอาการซึมลง มือเท้าเย็นปวดท้องกระสับกระส่าย หรือมีเลือดออกตามจุดต่างๆ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด

การป้องกันโรคไข้เลือดออก

 
1.
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและลูกน้ำยุงลาย โดย
   
 
•
คว่ำภาชนะที่ไม่ได้ใช้และมีน้ำขัง เช่น กระป๋อง กะลา ถาดรองกระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่าๆ เพื่อไม่ให้ยุงลายวางไข่
 
•
ปิดตุ่มน้ำให้มิดชิด
 
•
ใส่ทรายอะเบทในภาชนะที่กักน้ำที่ปิดฝาไม่ได้
 
•
เปลี่ยนน้ำในแจกันทุก 7 วัน
 
•
ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูในจานรองตู้
 
•
ใส่ปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ในภาชนะที่กักเก็บน้ำ
 
2.
กำจัดยุงลายโดยพ่นสารเคมี และในระยะที่มีการระบาด หรือมีเด็กที่ป่วยเป็นโรคในละแวกบ้าน ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อดำเนินการพ่นยาต่อไป
 
3.
อย่าให้ยุงกัดกลางวันโดย
   
 
•
นอนในมุ้ง
 
•
ใช้ยาทาหรือยาจุดกันยุง
 
•
หลีกเลี่ยงการอยู่ในมุมมืด หรืออับทึบ
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.ramaclinic.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
โรคกระเพาะอาหาร
 
โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
 
ป้องกันไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนกให้ทันการณ์
 
ลมพิษ
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.