หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
มะเร็ง...ตัวร้าย
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


มะเร็ง คือ เซลล์ทีเปลี่ยนสภาพไปเป็นเนื้อร้าย เติบโตและขยายตัวในหลอดเลือด และน้ำเหลือง กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย ซึ่งหากเป็นส่วนที่สำคัญ เช่น ปอด ตับ สมอง ก็จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วโดยมีสารเคมีที่เรียกว่า คาร์ซิโนเจน (Carcinogen) เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้โครโมโซมในนิวเคลียสของเซลล์ผิดปกติไปจนกลายเป็นมะเร็งที่มีการแบ่งตัวขยายออกไปเรื่อยๆ

อาการที่ส่อเค้า

 
1.
ก้อนเนื้อ ตุ่มบนหรือใต้ผิวหนัง เต้านม ริมฝีปาก อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย
 
2.
หูด ปาน ที่ผิดปกติ
 
3.
แผลเรื้อรัง
 
4.
ตกขาว โลหิต หรือเมือกผิดปกติที่ออกทางช่องคลอดมาก
 
5.
ไอ เสียงแหบ โดยที่ไม่ได้เป็นหวัด และหาสาเหตุไม่ได้
 
6.
เบื่ออาหาร ร่างกายผ่ายผอมอย่างรวดเร็ว กลืนอาหารลำบาก เจ็บคอ
 
7.
ระบบการขับถ่ายผิดปกติเป็นเวลานาน

การบำบัดรักษา

  • ระยะเริ่มแรก แพทย์อาจใช้การผ่าตัด ฉายแสง ใส่แร่เรเดียมซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้กว่า 30 %
  • ระยะที่เป็นมานานแล้ว มักใช้สารเคมีเข้าบำบัด (Chemotherapy) บางรายต้องใช้การฉายแสงรังสี เพื่อประคองชีวิต

มะเร็งสามารถเกิดได้ที่อวัยวะใดบ้าง เซลล์ร้ายตัวนี้ สามารถเกิดได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่พบมากได้แก

  • มะเร็งเต้านม พบมากที่สุดอันดับหนึ่งของผู้หญิง สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม ฮอร์โมนที่ผิดปกติ ความอ้วน อาหารที่รับประทานมีไขมันสูง การลุกลามของมะเร็งจากอวัยวะอื่นมายังเต้านม ป้องกันได้ด้วยการตรวจเป็นประจำด้วยแพทย์หรือตนเอง
  • มะเร็งปากมดลูก เชื่อว่าเกิดจากเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Viruses) การตรวจหามะเร็งชนิดนี้ควรตรวจหลังหมดประจำเดือน 1 สัปดาห์ และควรงดการมีพศสัมพันธ์ 24-48 ชั่วโมง ก่อนการตรวจ
  • มะเร็งผิวหนัง มักพบในผู้สูงอายุในวัย 40-50 ปีขึ้นไป ปัจจัยที่ก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ได้แก่ แสงแดด หรือแสงอุลตร้าไวโอเลต บริเวณของผิวหนังจะเกิดความผิดปกติ เช่น ก้อนตุ่มเล็ก ที่เริ่มขยายวงกว้างออกไป หรือโตขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นหากเป็นแผลที่ผิวหนัง และไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาให้หายขาด
  • มะเร็งปอด เกิดจากความสกปรกของอากาศ รังสี สารเคมีที่ปนเปื้อนในบรรยากาศ การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลานาน แผลเรื้อรังในปอด สังเกตได้จากอาการไอเป็นระยะเวลานาน น้ำหนักลด เบื่ออาหาร เจ็บคอเจ็บหน้าอก เสียงแหบ หายใจลำบาก กลืนอาหารลำบาก เหล่านี้ล้วนส่ออาการเริ่มต้นของมะเร็งปอดทั้งสิ้น การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยการเอ๊กซเรย์ปอด และลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอดได้ด้วยการงดสูบบุหรี่
  • มะเร็งช่องปาก เกิดได้กับกระพุ้งแก้ม ลิ้น เหงือก เพดานปาก พื้นปาก และริมฝีปาก สาเหตุจากอวัยวะดังกล่าวมีสิ่งมาทำให้ระคายเคืองซ้ำ ๆ นาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะภายในช่องปากเอง ฟันที่แหลมคม เหงือกอักเสบ หรืออาหารที่รับประทาน อาการที่สังเกตได้ เช่น มีแผลในช่องปากนานเกิน 3 สัปดาห์ มีฝ้าขาว ตุ่มนูน มีก้อนในช่องปาก และแตกเป็นแผล ลิ้นเป็นแผลเรื้อรัง เป็นต้น
  • มะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธ์ชาย ที่พบบ่อย ได้แก่ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก ไต อวัยวะเพศชาย แต่ก็สามารถเกิดได้กับลูกอัณฑะ ถุงอัณฑะ ได้เช่นกัน อาการที่บ่งบอกความเสี่ยง คือ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด กระปิดประปรอย แผลเรื้อรังที่มีเลือดออกร่วมกับกลิ่นเหม็นของอวัยวะเพศชาย อาการคันหรือเม็ดตุ่มต่าง ๆ ก้อนที่คลำได้บริเวณสีข้าง ท้องน้อย
  • มะเร็งตับ ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน แต่ลุกลามขยายผลได้จากไวรัสตับอักเสบชนิดบี ในรายที่เป็นพาหะในระยะเริ่มต้นของมะเร็งชนิดนี้ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการจนกระทั่งก้อนมะเร็งเริ่มโตจนผู้ป่วยเริ่มอึดอัด ท้องบวม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด สามารถตรวจพบได้ด้วยการอุลตร้าซาวด์ (Ultrasound) ซึ่งจะพบได้ต่อเมื่อก้อนมีขนาดตั้งแต่ 1 ซม.ขึ้นไป

ข้อแนะนำป้องกันมะเร็ง

 
1.
  หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี และอย่าลืมบอกสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายให้แพทย์ทราบ เพื่อให้การวินิจฉัยที่จะบ่งชี้การเกิดโรคได้ดียิ่งขึ้น
 
2.
  หากบุคคลในครอบครัวเคยเป็นมะเร็ง โอกาสเสี่ยงย่อมมากกว่าคนอื่น ดังนั้น ควรใส่ใจดูแลสุขภาพให้มาก หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เร่งการก่อมะเร็ง
 
3.
  เลือกรับประทานอาหารที่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง โดยเฉพาะวิตามินเอ ซี อี และเบต้าแคโรทีน พร้อมทั้งลดอาหารจำพวกหมัก ดองต่าง ๆ ลงด้วย
 
4.
  งดหรือลดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
 
5.
  กรณีที่น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ควรลดน้ำหนักลงให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควรจะเป็น
 
6.
  หยุดสูบบุหรี่ ตัวการของโรคหลายชนิด
 
7.
  ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
 
8.
  หลีกเลี่ยงแสงแดด ถ้าจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้ง ควรปกป้องผิวด้วยการทาครีมกันแดดที่มีสาร SPF 25 ขึ้นไป
 
9.
  หลีกเลี่ยงมลภาวะเป็นพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม
 
10.
  สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดกับร่างกายหรือตุ่มเนื้อ สิว ไฝ ปาน ว่าลุกลาม ขยายขนาดอย่างต่อเนื่องหรือไม่
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.bangkokhealth.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก
 
เคมีบำบัด คืออะไร
 
การป้องกัน และลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
 
พืช ผัก ผลไม้ เมนูพิชิตมะเร็ง
 
กินเป็น อยู่เป็น ไม่เป็นมะเร็ง
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.