หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
มะเร็ง หรือ เนื้อร้าย
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


มะเร็งหรือเนื้อร้าย คือ เนื้องอกชนิดร้ายที่กลายมาจากเนื้อเยื่อปกติของร่างกาย มีการเจริญเติบโตและแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว อยู่นอกเหนือการควบคุมของร่างกาย และมีโทษต่อร่างกาย ในปัจจุบันมะเร็งเป็นสาเหตุการตายในอันดับแรกๆ ของคนไทย ที่พบบ่อยในบ้านเรา ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งผิวหนัง มะเร็งในช่องปาก พบมากในคนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็ก และคนหนุ่มสาวได้

สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกัน ซึ่งพอจะแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ๆ

1. ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น

 
•
ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
 
•
เชื้อชาติ ชาวญี่ปุ่นเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมาก ชาวจีนเป็นมะเร็งของโพรงหลังจมูก และหลอดอาหารมาก
 
•
เพศ มะเร็งตับ มะเร็งปอด พบมากในผู้ชาย มะเร็งของเต้านม มะเร็งผิวหนัง พบมากในผู้หญิง
 
•
อายุ มะเร็งของลูกตา (Retinoblastoma) มะเร็งของไต พบมากในเด็ก
 
•
กรรมพันธุ์ มะเร็งเต้านมบางชนิด มะเร็งของต่อมไทรอยด์บางชนิด มะเร็งกระเพาะอาหาร
 
•
มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ใหญ่ พบว่า มีความสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์ เป็นต้น

2. ปัจจัยภายนอกร่างกาย ได้แก่

 
•
สารกายภาพต่างๆ ได้แก่ การระคายเคืองเรื้อรัง เช่น
   
 
1.
ฟันปลอมที่ไม่กระชับ เวลาเคี้ยวอาหารจะมีการเสียดสีกับเหงือกหรือเพดานปาก อาจทำให้เกิดมะเร็งของเหงือก หรือเพดานปากได้
 
2.
การกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มร้อนจัดเป็นประจำ อาจจะมีการระคายบริเวณหลอดอาหาร อาจทำให้เป็นมะเร็งของหลอดอาหารได้
 
3.
รังสีต่างๆ ถ้าร่างกายได้รับเป็นระยะนาน ๆ ก็อาจเกิดมะเร็งอวัยวะต่างๆ ได้
 
4.
แสงอัลตราไวโอเลต อาจทำให้เป็นมะเร็งของผิวหนัง และริมฝีปาก ถ้าถูกแดดจัดๆ เป็นระยะนานๆ
 
•
สารเคมี ในปัจจุบันพบสารก่อมะเร็ง (carcinogen) มากกว่า 450 ชนิด อยู่ในรูปของอาหาร พืช และสารเคมีต่างๆ เช่น
   
 
1.
สารหนู อาจทำให้เป็นมะเร็งของผิวหนัง
 
2.
บุหรี่ มีสารเบ็นซ์ไพรีน (benzpyrine) ที่เรียกว่า "ทาร์" หรือ "น้ำมันดิน" และสารเคมีพวกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (aromatic hydrocarbon) ทำให้เกิดมะเร็งปอด ช่องปาก ลำคอ กล่องเสียง หลอดอาหาร ตับอ่อน ปากมดลูก กระเพาะปัสสาวะได้
 
3.
แอลกอฮอล์ ทำให้เกิดมะเร็งช่องปาก ลำคอ กล่องเสียง ตับ หลอดอาหาร ลำไส้ใหญ่ เต้านม
 
4.
เบนซีน ทำให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว
 
5.
การเคี้ยวหมากหรือการจุกยาฉุน นอกจากจะมีการระคายเรื้อรังแล้ว ยังมีสารเคมีที่ทำให้เป็นมะเร็งของช่องปากได้
 
6.
สารไนโตรซามีน (nitrosamine) ในอาหาร ทำให้เกิดมะเร็งของตับ กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่
 
7.
ดีดีที เมื่อเข้าในร่างกาย อาจเปลี่ยนเป็นสารไดไนโตรซามีน ซึ่งมีฤทธิ์เหมือนไนโตรซามีน
 
•
ฮอร์โมน ฮอร์โมนเอสโตรเจน มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งช่องคลอด และโพรงมดลูก ฮอร์โมนแอนโดรเจน มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก
 
•
การติดเชื้อ เช่น
   
 
1.
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี และซี มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งตับ
 
2.
การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV/Human papilloma virus) มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งกล่องเสียง หรือทอนซิล
 
3.
การติดเชื้อไวรัสเอชทีแอลวี-1 (HTLV-1/Human T-cell leukemia virus) มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
 
4.
การติดเชื้อไวรัสอีบีวี (EBV/Epstein-Bar virus) สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ชนิดเบอร์กิต (Burkitt's lymphoma) และมะเร็งโพรงหลังจมูก
 
5.
การติดเชื้อเอชไอวี (เอดส์) มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง, มะเร็งของหลอดเลือดที่เรียกว่า Kaposi sarcoma
 
6.
การติดเชื้อ เอชไพโลไร (H. pylori/Helicobacter pylori) มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร
 
•
สารพิษ เช่น อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) จากเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหาร ทำให้เกิดมะเร็งของตับ
 
•
พยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ตับ ทำให้เกิดมะเร็งของตับ
 
•
อาหาร
   
 
1.
ภาวะขาดอาหาร เช่น โรคตับแข็ง ซึ่งเกิดจากการขาดสารโปรตีน จะกลายเป็นมะเร็งตับได้ง่าย
 
2.
การบริโภคอาหารพวกไขมันมาก อาจสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ รังไข่ ต่อมลูกหมาก มดลูก และตับอ่อน
 
3.
การบริโภคผักและผลไม้ วันละ 400-800 กรัม ช่วยลดการเกิดมะเร็งช่องปาก ลำคอ หลอดอาหารกระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน เต้านม และกระเพาะปัสสาวะ

 
อาการของมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ
 
การรักษามะเร็ง
 
การป้องกัน : การปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันมะเร็ง
 
       
    แหล่งข้อมูล : www.thailabonline.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
มะเร็ง...ตัวร้าย
 
การตรวจหามะเร็งในระยะเริ่มแรก
 
คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมไหม ?
 
สารบ่งชี้โรคมะเร็ง (Tumor markers)
 
เคมีบำบัด คืออะไร
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.