หน้าแรก
ข้อมูลสุขภาพ
เว็บ สุขภาพ
ร้านอาหาร เพื่อสุขภาพ
เว็บ โรงพยาบาล
หวาน (ไข) มัน เค็ม ทำร้ายหัวใจ
ข้อมูลสุขภาพ
สุขภาพใจ สุขภาพจิต
โรคหัวใจ
โรคมะเร็ง
เบาหวาน
โคเลสเตอรอล
ไต
สุภาพสตรี
ผู้สูงอายุ
กระดูกและข้อ
ฟัน
โรคอ้วน
เฉพาะด้านอื่นๆ
สารอาหาร
ทั่วไป
 


เรามักจะทราบดีว่า อาหารที่ผู้ป่วยโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงคือ อาหารหวาน อาหารที่มีไขมันสูง และอาหารเค็ม ซึ่งอาหารเหล่านี้ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆตามมา และเพื่อให้คุณผู้อ่านเห็นถึงอันตรายของอาหารต้องห้ามเหล่านี้ เรามีข้อมูลที่น่าสนใจมานำเสนอครับ

กินหวานทำให้หัวใจไม่แข็งแรง

อาหารหวานและอาหารรสมัน เป็นอาหารที่หากกินเข้าไปมากๆ จะทำให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ฟันผุ อีกทั้งการกินหวานเป็นประจำ ยังทำให้เป็นคนหงุดหงิดง่ายอีกด้วย

นอกจากนั้น อาหารหวานและอาหารมัน ไม่ว่าจะเป็นกะทิ น้ำตาล มีคอเลสเทอรอลสูง และทำให้หัวใจอ่อนแอ โดยเฉพาะคนที่เป็นเบาหวาน จะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น เพราะเบาหวานทำให้หลอดเลือดแดงทั่วร่างกายเสื่อมสภาพ

ทั้งนี้ อาหารหวานยังทำให้สัดส่วนของคอเลสเทอรอล ชนิดเอชดีแอลกับชนิดแอลดีแอลไม่สมดุลกัน ส่งผลให้มีคราบไขมันติดอยู่ในเลือดของเรามากขึ้น อีกทั้งการกินหวานมากๆ จะทำให้น้ำตาลในเลือดไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือด นานกว่าปกติ ทำให้เซลล์ผนังหลอดเลือดของเราถูกทำลายได้ง่ายขึ้น

ด้วยเหตุนี้อาหารหวาน จึงเป็นอันตรายต่อหัวใจ แต่เราก็มีวิธีที่จะลดระดับน้ำตาลในเลือดของเราได้ โดยวิธีการดังต่อไปนี้

 
•
งดน้ำอัดลมและขนมหวานทุกชนิด กินน้ำตาลให้น้อยลง หากหลีกเลี่ยงน้ำตาล หากเลี่ยงไม่ได้ให้ใช้น้ำตาลทรายแดงปรุงอาหาร
 
•
งดผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย ละมุด น้อยหน่า และหันมากินผลไม้ที่ไม่หวานจัด เช่น มะม่วงดิบ ส้มโอแทน ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่า

กินไขมันสูงเสี่ยงหัวใจวายกะทันหัน

ก่อนที่จะพูดถึงอาหารไขมันสูง เรามาทำความรู้จักไขมันในกระแสเลือดสักเล็กน้อย โดยทั่วไป เราแบ่งไขมันในกระแสเลือดออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

 
1.
คอเลสเทอรอลรวม (Total cholesterol) เกิดจากการรวมกันของคอเลสเทอรอล 2 ชนิดคือ แอล ดี แอล (LDL cholesterol: Low density Lipoprotein) คือคอเลสเทอรอลชนิดที่ ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาจากอาหาร ที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละมื้อ คอเลสเทอรอลชนิดแอล ดี แอล เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และคอเลสเทอรอลชนิดเอช ดี แอล (HDL-C High density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเทอรอลที่มีความหนาแน่นสูง คอเลสเทอรอลชนิดนี้ หากมีอยู่ในกระแสเลือดในระดับสูงมาก อาจทำให้เป็นโรคหัวใจตีบได้
 
2.
ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) เกิดจากการรับ ประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น กะทิ ไข่แดง หอยนางรม การกินแป้งขัดขาว เป็นต้น ในคนปกติหากมีไขมันไตรกรีเซอร์ไรด์ สูงกว่า 500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ถือว่าอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ

เวลาที่เรากินอาหารที่มีไขมันสูง คอเลสเทอรอลชนิดแอล ดี แอล ซึ่งสามารถซึมผ่านเซลล์ได้ จะเข้าไปสะสมในผนังหลอดเลือด และไปกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาว จับกันเป็นก้อน เรียกว่า โฟมาเซลล์ (Foam cell) ทั้งนี้ หากกระแสเลือดของคนเรา มีระดับของคอเลสเทอรอลชนิดแอล ดี แอล สูง (มากกว่า 190 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) จะยิ่งทำให้เกิดการซึมผ่านของคอเลสเทอรอล สู่ชั้นใต้ผนังหลอดเลือดแดง และทำให้เกิดการแตกตัว และปล่อยสารพิษออกมาทำลายผนังหลอดเลือด จนทำให้เกิดการอักเสบ ตีบตัน และปริแตก

เมื่อผนังหลอดเลือดแดงปริแตก เกล็ดเลือดซึ่งอยู่ในกระแสเลือด จะมาเกาะรวมตัวกันที่ผนังหลอดเลือด จนเป็นลิ่มเลือด และไปอุดตันหลอดเลือดแดง ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน และเสียชีวิตกะทันหันได้

เพื่อเป็นการป้องกัน เรามีวิธีการดูแลตัวเองควบคุมระดับคอเลทเทอรอลในเลือด ดังต่อไปนี้

 
•
หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่แดง สมองสัตว์ และอาหารทะเลบางชนิด เช่น หอยนางรม ปลาหมึก เป็นต้น
 
•
หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน  เช่นอาหารทอด  ผัด เจียว ไปใช้การปรุงอาหารโดยวิธี นึ่ง ต้ม แทน และหลีกเลี่ยงการใช้น้ำมัน ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น
 
•
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยรับประทานผัก และผลไม้ให้มากขึ้น

เค็มไปหัวใจตีบตัน

สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา ให้คำแนะนำไว้ว่า ผู้ใหญ่กินเกลือได้ไม่เกินวันละ 6 กรัม (ประมาณ 1 ช้อนชา) แต่คุณเชื่อไหมว่า ทุกวันนี้ เรากินเกลือกันมากกว่านั้น ทั้งจากขนมขบเคี้ยว อาหารดอง ปลาเค็ม กะปิ น้ำปลา การกินเค็ม นอกจากจะทำให้มีโอกาสเป็นความดันโลหิสูง และโรคไตแล้ว ยังนำไปสู่การเป็นโรคหัวใจตีบได้อีกด้วย กล่าวคือ

หากเรากินอาหารรสเค็มติดต่อกันเป็นเวลานาน โซเดียมจะเข้าไปเกาะที่ผนังกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย ซึ่งคอยควบคุมการไหลเข้าออกของเลือด ทำให้มีขนาดหนาขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก อึดอัดในทรวงอก เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจตีบได้

อยากรู้ว่าทำอย่างไร จึงจะลดการกินเกลือลงได้ เรามีข้อแนะนำดีๆ มาฝากกัน

 
•
เก็บกระปุกเกลือหรือน้ำปลาไว้ให้ไกลจากโต๊ะอาหาร และไม่เติมเกลือหรือน้ำปลาลงในอาหารก่อนชิมรส
 
•
พยายามกินผักและผลไม้ หรือผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ แทนผลไม้กระป๋อง หรือของดอง เพราะอาหารจากธรรมชาติมีปริมาณโซเดียมน้อยกว่า
 
•
ลดการบริโภคอาหารแช่แข็ง และอาหารจานด่วนต่างๆ และหันมาทำอาหารเอง เพื่อจำกัดปริมาณโซเดียมในอาหารแต่ละมื้อ

 

 

นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 218

 
       
    แหล่งข้อมูล : www.cheewajit.com  
   
ข้อมูลสุขภาพที่เกี่ยวข้อง
 
บริโภคอย่างไรจึงจะไม่เป็นโรคหัวใจ
 
รับประทานอย่างไร ปลอดภัยจากโรค
 
อาหารกับโรคหัวใจ
 
รอบรู้เรื่องอาหาร ลดปัญหาโคเลสเตอรอล
 
แนวทางการบริโภคอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี
 
   
 
 
Copyright © 2007 - 2009 by yourhealthyguide.com All rights reserved.